วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

ปัญหาสิ่งแวดล้อม


สาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อม
สาเหตุหลักของปัญหาสิ่งแวดล้อมมีอยู่ 2 ประการด้วยกัน คือ
1. การเพิ่มของประชากร (Population growth) ปริมาณการเพิ่มของประชากรก็ยังอยู่ในอัตราทวีคูณ (Exponential Growth) เมื่อผู้คนมากขึ้นความต้องการบริโภคทรัพยากรก็เพิ่มมากขึ้นทุกทางไม่ว่าจะ เป็นเรื่องอาหาร ที่อยู่อาศัย พลังงาน
2. การขยายตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี (Economic Growth & Technological Progress) ความเจริญทางเศรษฐกิจนั้นทำให้มาตรฐานในการดำรงชีวิตสูงตามไปด้วย มีการบริโภคทรัพยากรจนเกินกว่าความจำเป็นขั้นพื้นฐานของชีวิต มีความจำเป็นต้องใช้พลังงานมากขึ้นตามไปด้วย ในขณะเดียวกันความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีก็ช่วยเสริมให้วิธีการนำทรัพยากร มาใช้ได้ง่ายขึ้นและมากขึ้น
ผลสืบเนื่องอันเกิดจากปัญหาสิ่งแวดล้อม คือ
ทรัพยากรธรรมชาติร่อยหรอ เนื่องจากมีการใช้ทรัพยากรกันอย่างไม่ประหยัด อาทิ ป่าไม้ถูกทำลาย ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ขาดแคลนน้ำ
ภาวะมลพิษ (Pollution) เช่น มลพิษในน้ำ ในอากาศและเสียง มลพิษในอาหาร สารเคมี อันเป็นผลมาจากการเร่งรัดทางด้านอุตสาหกรรมนั่นเอง
มลพิษทางอากาศ
 โลกของเรามีชั้นของบรรยากาศห่อหุ้มอยู่ โดยรอบหนาประมาณ 15 กิโลเมตร ชั้นของบรรยากาศดังกล่าวนี้ประกอบด้วย ก๊าซไนโตรเจน ออกซิเจน ฝุ่นละอองไอน้ำ และเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ ในจำนวนก๊าซเหล่านี้ ก๊าซที่สำคัญที่สุดต่อการดำรงอยู่ของ สิ่งมีชีวิตในโลก คือ ก๊าซออกซิเจนและชั้นของบรรยากาศที่มีก๊าซออกซิเจนเพียงพอ ต่อการดำรงชีวิตมีความหนาเพียง 5 - 6 กิโลเมตรเท่านั้น ซึ่งปกติจะมีส่วนประกอบ ของก๊าซต่าง ๆ ค่อนข้างคงที่ คือ ก๊าซไนโตรเจน 78.09% ก๊าซออกซิเจน 20.94% ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเฉื่อย 0.97%ในปริมาณคงที่ของก๊าซดังกล่าวนี้ เราถือ ว่าเป็นอากาศบริสุทธิ์แต่เมื่อใดก็ตามที่ส่วนประกอบของอากาศเปลี่ยนแปลงไปมี ปริมาณ ของฝุ่นละออง ก๊าซ กลิ่น หมอกควัน ไอ ไอน้ำ เขม่าและกัมมันตภาพรังสีอยู่ในบรรยา กาศมากเกินไป เราเรียกสภาวะดังกล่าวว่า “อากาศเสีย” หรือ “มลพิษทางอากาศ”
ความหมาย ของ มลพิษทางอากาศ
มลพิษทางอากาศ หมายถึง ภาวะอากาศที่มีสารเจือปนอยู่ในปริมาณที่สูงกว่าระดับปกติเป็นเวลา นานพอที่จะทำให้เกิดอันตรายแก่มนุษย์ สัตว์ พืช หรือทรัพย์สินต่าง ๆ อาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ฝุ่นละอองจากลมพายุ ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว ไฟไหม้ป่า ก๊าซธรรมชาติอากาศเสียที่เกิดขึ้น โดยธรรมชาติเป็นอันตรายต่อมนุษย์น้อยมาก เพราะแหล่งกำเนิดอยู่ไกลและปริมาณที่เข้าสู่สภาพ แวดล้อมของมนุษย์และสัตว์มีน้อย กรณีที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ได้แก่ มลพิษจากท่อไอเสีย ของรถยนต์จากโรงงานอุตสาหกรรมจากขบวนการผลิตจากกิจกรรมด้านการเกษตรจากการ ระเหย ของก๊าซบางชนิด ซึ่งเกิดจากขยะมูลฝอยและของเสีย เป็นต้น
แหล่งกำเนิดสารมลพิษทางอากาศ
แหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศที่สำคัญของประเทศไทย แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
1.ยานพาหนะ
ยานพาหนะก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศจำกัดเฉพาะในเขตชุมชนขนาดใหญ่ เช่น กรุงเทพมหานครและปริมณฑล แต่ปัญหามลพิษทางอากาศจากโรงงานอุตสาหกรรม เป็นปัญหาเฉพาะพื้นที่กระจายอยู่ทั่วประเทศไทยทั้งในเขตชนบทและเขตเมือง
แหล่งกำเนิดจากยานพาหนะ
 การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของประเทศจากภาคเกษตรกรรม มาเป็นภาคอุตสาหกรรมทำให้กรุงเทพมหานครซึ่งเป็นศูนย์กลางของแหล่งธุรกิจและ ความเจริญมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดความต้องการในการเดินทางและการขนส่งมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้เกิดปัญหาจราจรติดขัดเข้าขั้นวิกฤต และนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ การจราจรที่ติดขัดทำให้รถเคลื่อนตัวได้ด้วยความเร็วต่ำ มีการหยุดและออกตัวบ่อยครั้ง ขึ้นน้ำมันถูกเผาผลาญมากขึ้น การสันดาปของน้ำมันเชื้อเพลิงไม่สมบูรณ์ และมีการระบายสารมลพิษทางท่อไอเสียในสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นบริเวณที่ใกล้ถนนที่มีการจราจรติดขัด จะมีปัญหามลพิษทางอากาศที่รุนแรงกว่า ในบริเวณที่มีการจราจรคล่องตัว สารมลพิษที่ระบายเข้าสู่บรรยากาศที่เกิดจาก การคมนาคมขนส่ง ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน สารตะกั่วและก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์

2. แหล่งกำเนิดจากโรงงานอุตสาหกรรม
 มลพิษทางอากาศจากแหล่ง กำเนิดอุตสาหกรรม เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงและกระบวนการผลิต ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดผล กระทบต่อคุณภาพอากาศในบรรยากาศและอาจส่งผล กระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนในชุมชน โดยทั่วไปหรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญเชื้อเพลิงที่ใช้สำหรับ อุตสาหกรรมมีอยู่ 3 ประเภทใหญ่ ๆ ด้วยกัน คือ
เชื้อเพลิงที่เป็นของแข็ง
เชื้อเพลิงที่เป็นของเหลว ได้แก่ น้ำมันเตา และน้ำมันดีเซล
เชื้อเพลิงที่เป็นก๊าซ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ และก๊าซ LPG

สารมลพิษทางอากาศที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงชนิดต่าง ๆ ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ฝุ่นละออง ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน ซึ่งพบว่ามีปริมาณการระบายออกสู่บรรยากาศเพิ่มมากขึ้นทุกปีตามปริมาณการใช้ เชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้น
มลพิษจากแสงอาทิตย์
เมื่อพระอาทิตย์ขึ้น แสงแดดอ่อน ๆ จากดวงอาทิตย์จะทำให้สุขภาพของร่างกายและจิตใจรื่นรมย์ขึ้น เสมือนว่าได้รับการชำระล้างความสกปรกหมักหมมที่ผ่านมาตลอดวันและคืน เราจึงนิยมผึ่งแดดในยามเช้า แต่พอสาย แสงแดดกล้าขึ้น ร่างกายและจิตใจที่เบิกบานจะค่อย ๆ ลดลง ๆ ผิวอันนวลเนียนจะเริ่มระคายเคือง ถ้าตากแดดต่อไปนาน ๆ ผิวจะเกรียมเป็นสีน้ำตาล ใบหน้าลอก และมีฝ้าเกิดขึ้น เกิดโรคแพ้ภูมิคุ้มกัน เจ็บไข้ได้ป่วยได้ง่าย
ที่จริงแล้ว แสงแดดจากดวงอาทิตย์มีประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตทั้งมนุษย์ สัตว์ พืชพันธุ์ต่อวิทยาศาสตร์ และต่อโลกอย่างมหาศาล เช่น คนในเขตร้อนมักไม่ค่อยเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูก เนื่องจากได้รับแสงแดดเพียงพอในการสังเคราะห์วิตามินดี-3 ซึ่งมีประโยชน์ต่อการบำรุงกระดูก หรือทางด้านวิทยาศาสตร์ก็สามารถนำรังสีอุลตราไวโอเลตจากการสังเคราะห์มาใช้ ในการวิเคราะห์ทางเคมีได้
แสงอาทิตย์ประกอบด้วยแสงต่าง ๆ ทั้งชนิดที่ตามองเห็นและมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แสงหรือรังสีอันตราย คืออัลตราไวโอเลต ซึ่งเป็นรังสีประเภทที่ตามองไม่เห็น คือ เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่มีความยาวคลื่นสั้นกว่าแสงที่ตามองเห็นได้ รังสีอุลตราไวโอเลตมี 2 ชนิด คือ อัลตราไวโอเลต-เอ มีความยาวคลื่นตั้งแต่ 320-400 นาโนเมตร และอุลตราไวโอเลต-บี มีความยาวคลื่นตั้งแต่ 290-320 นาโนเมตร
ความเป็นพิษของรังสีอุลตราไวโอเลต เกิดจากรังสีนี้เมื่อไปกระทบกับผิวหนังจะทำอันตรายต่อเซลล์ของร่างกาย จากการศึกษาวิจัยพบว่า กรดอะมิโน ซึ่งมีอยู่ในโปรตีนในร่างกายดูดกลืนรังสีนี้ได้ดี และทำให้เกิดสารพิษในร่างกายขึ้นหลายชนิด ที่เป็นต้นเหตุของมะเร็งที่ผิวหนัง
กรดในร่างกายอีกชนิดหนึ่ง คือ กรดนิวคลีอิคก็สามารถดูดกลืนรังสีนี้ได้ แม้จะไม่มากนัก แต่ก็ทำให้เกิดสารเคมีที่เป็นผลร้ายต่อกรรมพันธุ์ ทำให้ลูกหลานที่เกิดมามีลักษณะผิดปกติ ผ่าเหล่าผ่ากอ
รังสีอุลตราไวโอเลต มีอันตรายต่อเซลล์ของร่างกาย โดยทางอ้อมอีกด้วย คือ เมื่อเซลล์หนึ่งดูดกลืนรังสีนี้ไว้ ทำให้เกิดสารพิษชนิดหนึ่งขึ้นมา สารพิษที่เกิดขึ้นนี้จะไปทำอันตรายเซลล์อื่นต่อ ๆ ไป นอกจากนี้รังสีชนิดนี้ยังทำให้เกิดโรคต้อกระจกได้อีกด้วย
รังสีอุลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ผ่านบรรยากาศในชั้นต่าง ๆ มาสู่ผิวโลกเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมนุษย์และ สัตว์ ถ้าหากเราได้รับแสงมฤตยูนี้โดยตรง บรรดาพืชพันธุ์สิ่งมีชีวิตทั้งหลายจะถูกทำลายโดยสิ้นเชิง
นับว่าเป็นโชคดีของมนุษย์ที่ในบรรยากาศในชั้นสตราโตสเฟียร์ ยังมีก๊าซโอโซนที่มีความสามารถดูดกลืนรังสีอุลตราไวโอเลตได้ดี ทำให้รังสีผ่านลงมายังพื้นโลกน้อยลง
แต่ปัจจุบันนี้ เราพบว่าปริมาณของโอโซนในบรรยากาศเหนือพื้นโลก นับวันจะมีน้อยลงทุกที ผู้ที่ทำลายก็คือ มนุษย์รักสวยรักงามในโลกเรานี่เอง มนุษย์ผู้นิยมสเปรย์ฉีดผม สเปรย์ฆ่าแมลง สเปรย์น้ำหอมปรับอากาศ สเปรย์ระงับกลิ่นตัว ในสเปรย์มีสารเคมีชนิดหนึ่งเป็นตัวผลักดันให้สารในกระป๋องพ่นออกมาเป็นละออง เกสรเคมีที่เป็นตัวผลักดันนี้ คือ ฟลูออโรคาร์บอน หรือที่เรียกว่า ฟรีออน สารชนิดนี้เมื่อออกมาจากกระป๋องสเปรย์แล้ว จะให้โอโซนสลายตัวมีปริมาณลดลง มีตัวที่จะสกัดกั้นรังสีอุลตราไวโอเลตน้อยลง เป็นผลให้รังสีผ่านสตราโตสเฟียร์มายังโลกมากขึ้นเป็นอันตรายแก่มนุษย์ และสิ่งแวดล้อมอย่างมหาศาล
การป้องกันอันตรายจากรังสีอุลตราไวโอเลต ต้องพยายามหลีกเลี่ยงแสงสว่างที่มีความเข้มสูง ธรรมชาติของร่างกายมีกลไกในการป้องกันแสงอาทิตย์อยู่แล้ว คือ ผิวหนังชั้นนอกร่างกายมีสารให้สีหรือที่เรียกว่า รงวัตถุ ขนหรือเกล็ดของสัตว์สามารถกรองหรือกระจายแสงได้ และยังมีเอนไซม์บางชนิดสามารถฆ่าฤทธิ์พิษที่เกิดขึ้นจากรังสีอุลตราไวโอเลต
ในความเป็นพิษเป็นภัยของแสงอุลตราไวโอเลตนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้พบสารที่เป็นคุณแฝงอยู่ด้วย ในปี พ.ศ. 2471 มีผู้พบว่าสีย้อม (dye) บางชนิด เช่น ไทอาซินดาย เมทิลิน บลู (4) Thiazine dye methylene blue (IV) หรือสีย้อมพวกแซนทีนที่มีฮาโลเจนอยู่ด้วย (halogenated fluorescein family of xanthene) สีจำพวกนี้เมื่อถูกกับรังสีอุลตราไวโอเลต จะเปลี่ยนเป็นสารที่มีพิษต่อแมลง ซึ่งนำมาใช้กำจัดแมลงได้
ชาวอียิปต์โบราณพบว่าพืชแอมมินาจัส (Amminajus) ซึ่งขึ้นอยู่ตามแม่น้ำไนล์ มีสารชนิดหนึ่งซึ่งเมื่อถูกแสงอาทิตย์จะกลายเป็นยารักษาโรค ใช้ในการบำบัดรักษาโรคผิวหนัง ปัจจุบันนี้เราพบว่าสารนี้คือ ซอราเลนส์ (Psoralens) จึงได้มีผู้หันมาใช้สารนี้ในการบำบัดโรคมะเร็งได้
เราควรหลีกเลี่ยงแสงแดดในช่วงเที่ยงถึงบ่าย ซึ่งเป็นเวลาแดดจัด มีความเข้มของแสงอุลตราไวโอเลตสูง เพื่อป้องกันมิให้เซลล์ในร่างกายถูกแสงแดดทำลาย เป็นเหตุให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บขึ้นได้ โดยเฉพาะหน้าร้อนในขณะนี้ อย่าเดินตากแดดโดยไม่มีหมวกหรือร่มหรือแว่นตากันแดด ซึ่งนอกจากจะทำให้ผิวหนังแห้งเกรียม หน้าลอก เป็นฝ้า ตาเป็นต้อกระจก เป็นโรคภัยไข้เจ็บอื่น ๆ แล้ว ยังทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังอีกด้วย
มลภาวะจากกัมมันตะรังสีที่มีอยู่ในธรรมชาติ
รังสีที่มีอยู่ในธรรมชาติ ซึ่งได้จากการสลายตัวของกัมมันตภาพวัตถุกลายเป็นธาตุต่าง ๆ ธาตุกัมมันตภาพรังสีที่สำคัญมีอยู่ 2 ตระกูลคือ ยูเรเนี่ยม (Uranium) และทอเรี่ยม (Thorium) ธาตุทั้งสองนี้ต่างก็สลายตัวเป็นธาตุต่าง ๆ หลายธาตุที่น่าสนใจคือ ตระกูลยูเรเนี่ยมให้ธาตุเรดอน (Radon) และตระกูลทอเรี่ยมให้ธาตุโทรอน (Thoron) ทั้งเรดอนและโทรอน มีสภาพเป็นก๊าซลอยขึ้นมาจากพื้นดินขึ้นสู่อากาศอยู่ตลอดเวลา ธาตุทั้ง 2 นี้ จะส่งกัมมันตรังสีออกเป็นหลายช่วง กลายเป็นธาตุต่าง ๆ ดังนั้นทุกครั้งที่เราหายใจเอากาศเข้าปอด ย่อมได้รับส่วนของรังสีของธาตุต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วเข้าไปด้วย จากการติดตามข่าว ปรากฎว่าทางภาคอีสานมีธาตุกัมมันตรังสีอยู่ ตั้งแต่จังหวัดนครราชสีมาจนถึงจังหวัดขอนแก่น ส่วนทางภาคใต้ก็มีขี้แร่ดีบุก พวกโมโนไซด์เป็นแร่ธาตุที่มีกัมมันตรังสีอยู่เช่นกัน แถวสงขลา นราธิวาส ขณะนี้ทำเป็นเม็ดยูเรเนี่ยมได้แล้ว ส่วนทางภาคเหนือยังไม่มีการสำรวจ คาดว่าคงจะพบเช่นกัน ดังนั้นโอกาสที่เราจะได้รับรังสีก็ย่อมมี นอกจากนั้นสถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อม ยังได้วิจัยเพื่อวัดปริมาณของเรดอนและโทรอน โดยดูดอากาศกลางแจ้งผ่านกระดาษกรองเผาเป็นเถ้าเพื่อลดปริมาณของกระดาษกรอง แล้ววัดปริมาณของรังสีมีผลเฉลี่ยที่น่าสนใจ คือ ในฤดูหนาวมีลมพัดจากแผ่นดินใหญ่จีนเข้าสู่ประเทศไทยทางทิศเหนือหรือตะวันออก เฉียงเหนือ จะนำเอาก๊าซทั้งสองชนิดเข้ามาโดยมีค่าเฉลี่ยดังนี้
เรดอน (Radon) 186 ปิโกคูรี่ต่อลูกบาศก์เมตร
โทรอน (Thoron) 5 ปิโกคูรี่ต่อลูกบาศก์เมตร
ส่วนฤดูร้อนและฤดูฝนมีลมพัดมาจากทิศใต้ ผ่านทะเลเป็นส่วนใหญ่ ผ่านแผ่นดินน้อย การวัดพบว่า มีก๊าซทั้งสองน้อยกว่าฤดูหนาวมีคือ
เรดอน (Radon) 122 ปิโกคูรี่ต่อลูกบาศก์เมตร
โทรอน (Thoron) 3 ปิโกคูรี่ต่อลูกบาสก์เมตร
ผลเฉลี่ยตลอดปีของประเทศไทยมีดังนี้
เรดอน (Radon) 120 ปิโกคูรี่ต่อลูกบาศก์เมตร
โทรอน (Thoron) 3 ปิโกคูรี่ต่อลูกบาศก์เมตร
มวลสารทั้งหลายประกอบไปด้วยอนุภาคเล็ก ๆ ที่เราเรียกว่า อะตอม (Atom) หรือภาษาราชการเรียกว่า ปรมาณู แต่ละอะตอมประกอบด้วย นิวเคลียส (Nucleus) เป็นแกนกลางมีบริเวณวิ่งรอบเรียกว่า อีเล็กตรอน (Electron) คล้าย ๆ พระจันทร์หมุนรอบดวงอาทิตย์ ตัวอย่างเช่น คาร์บอน 12 แสดงเป็นรูปข้างล่างนี้
ในแต่ละธาตุประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอนอยู่ในนิวเคลียส ซึ่งจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสนี้เรียกว่า "เลขอะตอม" (Atomic number) แต่ละธาตุจะมีจำนวนต่างกัน ตัวอย่างเช่น อะตอมของไฮโดรเจนมีโปรตอน 1 อนุภาค อะตอมของยูเรเนี่ยมมีโปรตอน 92 อนุภาค ธาตุเดียวกันมีโปรตอนเท่ากัน แต่อาจจะมีนิวตรอนต่างกันได้ สิ่งนี้เองเป็นเหตุให้ธาตุเดียวกันแบ่งออกได้อีกหลายชนิด แต่ละชนิดมีมวล (Mass) ไม่เท่ากัน เช่น โปรเตียม เขียนได้ดังนี้ 1H1 (1P + 1N) คิวเทียม 1H2 (1P + 2N) ทริเตียม 1H3 (1P + 3N) ซึ่งก็เนื่องมาจากมีจำนวนนิวตรอนต่างกันนั่นเอง และมีชื่อเรียกแต่ละชนิดนี้ว่าเป็น ไอโซโทป (Isotope) ของธาตุนั้น ๆ ไอโซโทปแบ่งออกได้เป็น พวก คือ ไอโซโทปที่อยู่ตัว (Stable Isotope) และไอโซโทปที่ไม่อยู่ตัว มีการแผ่รังสีออกมาเรียกว่า เรดิโอไอโซโทป (Radio Isotope) เพื่อให้เข้าใจง่ายเข้า รังสีไอโซโทป (Isotope) ก็คือ อะตอมของธาตุที่มีอะตอมมิกนัมเบอร์ (Atomic number) อันเดียวกัน คุณสมบัติทางนิวตรอน (neutron) ต่างกัน และมีน้ำหนักต่างกันด้วย คุณสมบัติทางฟิสิกส์ต่างกัน แต่ทางเคมีเกือบเหมือนกันทุกประการจะต่างกันก็ที่อัตราความเร็วในการทำปฏิ กริยาเท่านั้น ซึ่งเป็นคุณสมบัติของธาตุนั้น ๆ ตามธรรมชาติ
ธาตุบางชนิด จะมีการแผ่รังไอโซโทปออกไปไม่หยุดยั้ง เช่น ธาตุยูเรเนียม (Uranium) ทอเรี่ยม (Thorium) และธาตุเรเดียม (Radium) เป็นรังสีที่เรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เช่น อีเล็กตรอนของธาตุเหล่านี้จะแผ่รังสีให้รังสีเอ๊กซ์ (X-ray) รังสีเอ๊กซ์ก็คือ รังสีที่มีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ประมาณตั้งแต่ 1016 ถึง 1021 เฮิร์ตซ์ (Herzt) (เฮิร์ตซ์ ก็คือ คำนวนความถี่ของลูกคลื่นในหนึ่งหน่วยเวลา) แต่ถ้ารังสีที่มีความยาวคลื่นระหว่าง 4 x 10-7 = 0.0,000,007 เมตร เป็นกลุ่มรังสีที่ประสาทตาของเรารับรู้ได้ เราเรียกว่าแสง (Light) ส่วนนิวเคลียส (Nucleus) ก็จะแผ่รังสีออกมาเป็นรังสีอัลฟา (Alpha rays) รังสีเบต้า (Bata rays) และรังสีแกมม่า (Gamma rays) ซึ่งรังสีแกมม่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ประมาณ 1019 ถึง 1022 เฮิร์ตซ์ (ส่วนรังสีอัลฟาและเบต้า ไม่มีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า) รังสีเหล่านี้เป็นอันตรายต่อมนุษย์เพราะเป็นรังสีที่เกิดจากการสลายตัวของ สารกัมมันตภาพวัตถุ ซึ่งสามารถทะลุทะลวงผ่านผิวหนังของคนได้ บางชนิดสามารถทะลุทะลวงแผ่นเหล็กหนาหนา 25 เซนติเมตร กระดาษ แผ่นอลูมิเนียม แผ่นตะกั่วที่มีความหนา 8 เซนติเมตร หรือกำแพงซีเมนต์ได้ ซึ่งแสดงว่า รังสีเหล่านี้เป็นอันตราย ถ้าผ่านร่างกายของมนุษย์ก็จะทำลายเซลล์ในร่างกาย (ดูภาพประกอบ)
อันตรายจากรังสี
เมื่อรังสีเข้าสู่ร่างกายแล้ว ร่างกายจะเกิดอาการผิดปกติทั้งภายนอกและภายใน เช่น ผมร่วง ผิวหนังไหม้เกรียม เป็นแผลเรื้อรัง เป็นมะเร็ง เป็นอันตรายต่อระบบประสาท หัวใจ เม็ดเลือด และทำให้การไหลเวียนของโลหิตเสียไป ถ้าได้รับรังสีเข้าไป 400 เร็ม-500 เร็ม มีโอกาสตาย 50% ถ้าได้รับ 1,000 เร็ม ตาย 100% อาการหลังจากถูกรังสีเป็นปริมาณ 100 เร็ม-250 เร็ม มีอาการเวียนศีรษะและอาเจียนเป็นอยู่ 2 สัปดาห์ ถ้ามากกว่า 700 เร็ม ผมร่วง เจ็บคอ ตกโลหิตที่อวัยวะภายใน ตกโลหิตที่ผิวหนัง ทางเดินอาหาร มีอาการเปลี่ยนแปลงทางโลหิต
1. อันตรายของรังสีต่อเซลล์ในร่างกาย มีคือ
   ก. มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia) โดยมากมักจะเป็นกับเด็กที่รับการรักษาทางด้านรังสี พวกแพทย์ พยาบาลที่ปฏิบัติงานด้านรังสี
   ข. มะเร็งที่กระดูก โดยเฉพาะเรเดี่ยม มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับธาตุแคลเซียม จะเกาะ กระดูกแล้วแผ่รังสีออกมาทำให้เป็นมะเร็งที่กระดูก
   ค. มะเร็งที่ปอด หายใจเอากัมมันตรังสีเป็นก๊าซปะปนเข้าไป ทำให้เกิดเป็นมะเร็งที่ปอดได้
   ง. มะเร็งที่ต่อมทัยรอยด์
   จ. ผลเสียจากรังสีทำให้คนอายุสั้น เช่น แพทย์รังสีมีอายุเฉลี่ยน้อยกว่าแพทย์ทั่ว ๆ ไป
   ฉ. ผลเสียต่อเซลล์สืบพันธุ์ ทำให้เด็กคลอดก่อนกำหนด เด็กออกมาพิการ อ่อนแอ ไม่ แข็งแรง เป็นต้น
2. หน่วยวัดปริมาณของรังสี หน่วยวัดรังสีเป็น เรินต์เกน (Roentgen) สำหรับรังสีในร่าง กายมีหน่วยเป็น เร็ม (Rem) ย่อมาจากภาษาอังกฤษคือ "Roentgen equivalent man" องค์การระหว่างประเทศกำหนดว่าปริมาณของรังสี โดยเอาอายุคนงานที่ทำงานเกี่ยวกับรังสี คือ มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี บริบูรณ์มาเป็นเกณฑ์คำนวน คือ ปริมาณรังสีสะสมที่ได้รับสูงสุดแต่ละบุคคลที่ทำงานแล้วไม่เกิดอันตราย-5 (N-18) เร็ม
N- อายุของบุคคลนั้นโดยถ้าอายุ 18 ปี จะต้องได้รับปริมาณรังสี 5 เร็ม เป็นค่ามากที่สุดที่จะไม่เกิดอันตราย
ภาวะเรือนกระจก
มนุษย์กำลังเปลี่ยนแปลงระบบการไหลเข้าออกของพลัง งานความร้อนจากดวงอาทิตย์ในชั้นบรรยากาศ จากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างไม่มีการควบคุมขึ้น สู่ชั้นบรรยากาศ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลของโลก การเพิ่มอุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นผิวโลก ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมของมนุษย์ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงกับองค์ประกอบต่าง ๆ ของชั้นบรรยากาศ และความผันแปรของภูมิอากาศตามธรรมชาติ
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ ก่อมลพิษทางอากาศ ทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนซึ่งปกป้องผิวโลก และก่อให้เกิดสภาวะโลกร้อนอันเนื่องมาจากอุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลกสูงขึ้น
 
โลกของเรามีก๊าซต่าง ๆ ในชั้นบรรยากาศห่อหุ้มอยู่โดยรอบ ทำหน้าที่คล้ายเรือนกระจก หรือกรีนเฮาส์เป็นเกราะกำบังกรองความร้อนที่จะผ่านลงมายังพื้นผิวโลก และเก็บกักความร้อนบางส่วนเอาไว้ ทำให้โลกมีอุณหภูมิพอเหมาะสำหรับการดำรงชีวิต
แต่ในปัจจุบัน มนุษย์กำลังเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลกอย่างร้ายแรง โดยการก่อและใช้สารเคมีบางชนิดในกิจกรรมต่าง ๆ ที่สามารถทำลายเกราะป้องกันของโลก และก๊าซบางชนิดยังก่อให้เกิดปรากฎการณ์เรือนกระจก GREENHOUSE EFFECT โดยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศจนหนาแน่นขึ้น ทำให้เก็บกักความร้อนได้มากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิอากาศของโลกสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศต่าง ๆ และมหาสมุทรจะขยายตัวจนเกิดน้ำท่วมได้ในอนาคต
ก๊าซเรือนกระจก มาจากไหน ?
 ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นก๊าซชนิดที่ทำให้เกิดพลังงานความร้อนสะสมในบรรยากาศของโลกมากที่สุดใน บรรดาก๊าซเรือนกระจกชนิดอื่น ๆ เป็นตัวการสำคัญที่สุดของปรากฎการณ์เรือนกระจกที่มนุษย์เป็นผู้กระทำ ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงถ่านหินเพื่อผลิตไฟฟ้า การตัดไม้ทำลายป่า
 ก๊าซมีเทน (CH4) เป็นก๊าซที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เกิดจากของเสียจากสัตว์เลี้ยง เช่น วัว ควาย การทำนาที่ลุ่มน้ำท่วมขัง การเผาไหม้เชื้อเพลิงถ่านหินก๊าซธรรมชาติ และการทำเหมืองถ่านหิน
 ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N20) เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และจากการใช้ปุ๋ยไนเตรดในไร่นา การขยายพื้นที่เพาะปลูก การเผาไหม้ เผาหญ้า มูลสัตว์ที่ย่อยสลาย และเชื้อเพลิงถ่านหินจากอุตสาหกรรมที่ใช้กรดไนตริกในขบวนการผลิต เช่น อุตสาหกรรมผลิตเส้นใยไนลอน อุตสาหกรรมเคมี หรืออุตสาหกรรมพลาสติกบางชนิด
 คลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbon- CFsC) เป็นก๊าซที่สังเคราะห์ขึ้นเพื่อใช้ในการผลิตทางอุตสาหกรรม เช่น ใช้ในเครื่องทำความเย็นชนิดต่าง ๆ เป็นก๊าซขับดันในกระป๋องสเปรย์ และเป็นสารผสมทำให้เกิดฟองในการผลิตโฟม เป็นต้น ซีเอฟซี มีผลกระทบรุนแรงต่อบรรยากาศ ทั้งในด้านทำให้โลกร้อนขึ้น ทำให้เกิดปรากฎการณ์เรือนกระจก และทำลายบรรยากาศโลกจนเกิดรูรั่วในชั้นโอโซน


สภาวะสิ่งแวดล้อมของโลก : กัมมันตภาพรังสี
เรื่องของผมค่อนข้างน่าสะพึงกลัว และค่อนข้างจะน่ารังเกียจอย่างหนึ่งเพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับรังสีซึ่ง ท่านกลัวกันอยู่ ผมขอจำกัดขอบเขตการพูดในเรื่องนี้ ประเทศเรานั้นมีกฎระเบียบในการป้องกันปรมาณูอย่างไร ความจริงแล้วเรื่องพลังงานปรมาณูได้บูมขึ้นประมาณ พ.ศ. 2488 ซึ่งมีการใช้ระเบิดปรมาณูครั้งแรกที่ฮิโรชิมา นางาซากิ หลังจากนั้นประมาณ 8 ปี คือ พ.ศ. 2496 รัฐบาลของสหรัฐอเมริกาคือ ประธานาธิบดี ไฮเซ่นฮาว คิดว่า เราอย่ามาสร้างสรรระเบิดปรมาณูในการทำลาย เราควรช่วยกันทำในทางสันติดีกว่า จึงสร้างโครงการ Atom For Peace ขึ้น ซึ่งไทยก็เข้าร่วมโครงการนั้นในปี พ.ศ. 2497 ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำ 2 คำก่อน ซึ่งยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนอย่างมากคือ สารรังสีหรือสารกัมมันตภาพรังสี และกัมมันตภาพรังสีหรือรังสี
วิทยากรได้เปรียบเทียบให้เห็นดวงอาทิตย์ที่ฉายแสงแดดออกมาตลอดเวลาเหมือนสาร รังสีหรือสารกัมมันตภาพรังสี ซึ่งแผ่รังสีออกมาตลอดเวลาเช่นกัน เพราะฉะนั้นเมื่อพูดถึงรังสีแล้วก็ต้องมีสารรังสีเปล่งออกมา ดังนั้นที่ท่านกลัวเรื่องเซ็อร์โนบิลนั้น ก็คือท่านกลัวเรื่องสารรังสีที่แผ่ออกมา ฉะนั้นทั้งสองประเด็นนี้ท่านต้องแยกออกจากกันให้เด่นชัด คำว่า "สารรังสี" นั้น ท่านอย่านึกว่าท่านอยู่ในที่นี้แล้วท่านจะไม่พบ สารรังสีมี 2 ประเภท ประเภทหนึ่งเกิดในธรรมชาติ ซึ่งในตัวท่านเองก็มี อีกประเภทหนึ่งคือมนุษย์ทำขึ้น เรียกว่า Man-Made
การเปรียบเทียบสารรังสีกับหลอดไฟ แสงสว่างจากหลอดไฟสามารถมองเห็น รู้สึกได้ แต่สัมผัสไม่ได้ ขณะที่สารรังสีไม่สามารถมองเห็น รู้สึกไม่ได้ และสัมผัสไม่ได้ ถ้าใช้แผ่นกระดาษบาง ๆ แสงสว่างยังส่องผ่านได้ แต่กรณีสารรังสีนั้น รังสีแอลฟา จะผ่านไม่ได้ แต่รังสีเบต้า และแกมม่า ผ่านได้ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีอันหนึ่งในการกำจัดสารรังสีประเภทหนึ่งได้ ถ้าใช้กระดาษแข็งแสงสว่างอาจจะลอดได้นิดหน่อยหรืออาจจะทึบไปเลย แต่กรณีรังสีแล้ว รังสีเบต้าจะถูกดูดไว้ แต่รังสีแกมม่าสามารถทะลุได้จากการทราบเช่นนี้ ทำให้เราสามารถป้องกันรังสีประเภทใดประเภทหนึ่งได้
ประเทศไทยมีหน่วยงานรับผิดชอบเกี่ยวกับพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ ในปี พ.ศ. 2504 ทางสภาก็ได้ผ่านพระราชบัญญัติฉบับหนึ่งออกมา ซึ่งทำให้เกิดสององค์กรคือ คณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ และสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ โดยคณะกรรมการปรมาณูเป็นผู้สร้างนโยบายให้สำนักงานพลังงานปรมาณูเป็นผู้ ปฏิบัติ เมื่อพิจารณาโครงสร้างของสำนักงานพลังงานปรมาณูแล้ว กองสุขภาพกองขจัดกากกัมมันตภาพรังสี กองการวัดกัมมันตภาพรังสี ทั้ง 3 กองนี้มีหน้าที่ควบคุม และป้องกันอันตรายจากรังสีทั้งภายในและภายนอก สำหรับโครงการเตรียมการโรงไฟฟ้าปรมาณู ที่คิดว่าจะสร้างนานแล้วประมาณ 14-15 ปีนั้นก็ยังไม่ได้สร้าง จึงได้ปรับโครงการนี้เป็นศูนย์กำกับความปลอดภัยโรงงานนิวเคลียร์ขึ้น ซึ่งหมายความว่าในสำนักนี้มีทั้งสองรูปแบบคือ หน่วยปฏิบัติ และหน่วยควบคุมในตัวเองด้วย
สภาวะสิ่งแวดล้อมของโลก : สารพิษ
ความจริงเรื่องกรีนเฮ้าส์ เอฟเฟค (Greenhouse Effect) กับการทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศค่อนข้างเกี่ยวข้องใกล้เคียงกัน เพราะว่าการใช้สารประเภทฮาโลคาร์บอน (Halocarbon) ที่เป็นพวกคาร์บอนและมีอะตอมของฮาโลเจน (Halogen) อยู่ด้วย เช่น ฟลูออรีน (F) (C1) โบรมีน (Br) จะทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ ซึ่ง คุณนิตยา (ผู้อำนวยกองอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข) ได้อธิบายถึง mechanism ของการทำลายแล้ว
ในเมื่อปัญหาดังกล่าวก่อให้เกิดผลเสียหายกับโลกที่ประชากร ทั้งโลกจะต้องร่วมกันรับผิดชอบ ใจจริง ผมไม่อยากพูดว่า คนทั้งโลกจะต้องรับผิดชอบเพราะประเทศไทยเราไม่ได้เป็นผู้ผลิต และผู้ขาย เรามีแต่อิมปอร์ต (Import) เข้ามาร้อยเปอร์เซ็นต์ เราเป็นผู้ใช้อย่างเดียว แต่ประเทศพัฒนาแล้ว และประเทศอุตสาหกรรมทั้งหลายเป็นผู้ขาย เป็นผู้มีรายได้ ประมาณร้อยละแปดสิบถึงเก้าสิบเปอร์เซ็นต์จากการค้าสาร CFCs ทั่วโลก ดังนั้นน่าจะเป็นหน้าที่ของประเทศเหล่านี้ที่จะต้องรับผิดชอบ แล้วผู้เป็นคนก่อให้เกิดปัญหาแก่ชาวโลก มาเรียกร้องให้เราให้ความร่วมมือกับเขาในการแก้ปัญหา ทั้ง ๆ ที่เขากอบโกยไปไม่รู้เท่าไหร่แล้ว เพราะฉะนั้นผมจึงคิดว่าเป็นประเด็นที่ประเทศพัฒนาแล้วทั้งหลายน่าจะรับผิด ชอบเต็มที่ เขาเองก็บอกเขารับผิดชอบ แต่เวลาเราจะขอความช่วยเหลือด้านการเงินเขาควักยากมาก เรื่องการทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศนี้ เขามีความร่วมมือในระดับนานาชาติตามพิธีสารเรียกว่า มอนทรีออล โปรโตคอล (Montreal Protocal) และประเทศไทยเราได้ลงนามเป็นสมาชิกของพิธีสารนั้นแล้วเมื่อ 15 กันยายน 2531 ทุกครั้งที่มีการประชุมประเทศเราก็จะส่งตัวแทนไปร่วมด้วย ผลการประชุมปรากฏว่าเขาจะควบคุมการใช้สารฮาโลคาร์บอน ซึ่งแบ่งออกเป็นหลายกรุ๊ป เช่น ซีเอฟซี เฮลอน คาร์บอนเตตระคลอไรด์ เมธิลคลอโรฟอร์ม และอื่น ๆ
HCFC (Hydrochlorofluorocarbon) และ HFC (Hydrofluorocarbon) เป็นสารที่ทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศทั้งนั้น แต่ potential ในการทำลายต่างกับ CFCs มาก สถานการณ์ในปัจจุบันนี้ปรากฏว่าชาวโลกใช้สารซีเอฟซีฟุ่มเฟือยมากและสารซีเอ ฟซีนี้ คุณนิตยา ได้อธิบายแล้วว่า เป็นก๊าซเฉื่อย ซึ่งสามารถอยู่ในชั้นบรรยากาศทั้งระดับล่างและระดับบนเป็นเวลานาน นอกจากทำลายโอโซนแล้วยังเป็นกรีนเฮ้าส์กาซ (Greenhouse Gases) ด้วย หลังปี ค.ศ. 2000 จะไม่มีการใช้ CFCs ประเทศที่ผลิตก็จะเลิกผลิต ผลิตภัณฑ์ที่ใช้สาร CFCs ก็จะเปลี่ยนไปใช้สารชนิดอื่น สารที่เขาจะใช้ทดแทนได้แก่ สารประเภทที่อยู่ในกรุ๊ปใกล้เคียงกัน ซึ่งผมได้เอ่ยแล้วได้แก่สาร HCFC และสาร HFC หลักการก็คือตัว CFCs มี่คลอรีนหลายตัว ในเมื่อคลอรีนสร้างปัญหาเขาก็พยายามลดอะตอมของคลอรีนลงบ้าง โดยผลิตสารใหม่ที่เอาอะตอมของไฮโดรเจนเข้าไปแทนที่คลอรีนก็กลายเป็น HCFC และส่วน HFC เป็นสารที่มีฟลูออรีนอย่างเดียวไม่มีคลอรีน ก็ลดตัวทำลายโอโซนลงไปได้ potential ในการทำลายโอโซนในบรรยากาศก็ลดน้อยลง ส่วนใหญ่จะต่ำกว่าหนึ่ง อย่างไรก็ตามในอนาคตหลังจากปี 2000 ไปแล้วอีก 60 ปี สารทดแทนนี้จะถูกควบคุมและเลิกใช้เลิกผลิตเหมือนกัน สารทดแทนสองชนิดนี้ ประเทศพัฒนาแล้วและประเทศอุตสาหกรรมต่าง ๆ ผลิตได้แล้ว แต่ไม่รู้จะผลักดันออกสู่ตลาดได้อย่างไร ในเมื่อ CFCs ราคาถูกกว่า คุณภาพก็ดีกว่า และค่อนข้างจะมีพิษต่อสุขภาพน้อยมาก ปลอดภัยจากการใช้ แต่ทำลายโอโซนในบรรยากาศและเป็นกรีนเฮ้าส์กาซเท่านั้นเอง นโยบายการผลักดันสารตัวใหม่ออกสู่ตลาด ก็ถือโอกาสยกเรื่องโอโซนในชั้นบรรยากาศถูกทำลายเป็นสาเหตุ เพื่อจะผลักสารทดแทนเหล่านี้ออกสู่ตลาดโลก ให้คนที่ใช้ CFCs เลิกใช้หันมาใช้สารทดแทนชนิดใหม่ซึ่งมีราคาแพงกว่า คุณภาพก็แย่กว่าด้วย รู้สึกว่าจะมีเชิงเศรษฐกิจ (Environmental Economics) ในระดับโลกเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ประเทศไทยในฐานะประเทศซึ่งนำเข้าอย่างเดียวก็ต้องระวังในเรื่องนี้ด้วย ต้องหูตากว้างอย่าไปเชื่อมากนัก
สำหรับมาตรการที่จะป้องกันในเรื่องนี้ ในระดับระหว่างประเทศ เราให้ความร่วมมืออยู่แล้วและกรมโรงงานอุตสาหกรรมในฐานะรับผิดชอบมอนทรีออล โปรโตคอล โดยตรงได้ทำบางสิ่งบางอย่างเช่นสาร CFC-113 ที่ใช้เป็น cleaning reagent สำหรับล้างพวกโลหะและแผงวงจรไฟฟ้าเพราะสารนี้เป็น solvent ที่ละลาย oil, grease และ wax ได้ดีมาก ใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมอิเลคโทรนิคส์ อุตสาหกรรมโลหะ และอื่น ๆ ในต่างประเทศเขาเริ่มจำกัดการใช้เพื่อลด consumption ของเขา เขาพยายาม drain สารเหล่านี้มาเพิ่ม consumption ให้กับประเทศกำลังพัฒนาอย่างเรา เพราะประเทศของเราใช้น้อย เขารู้สถิติจากเจนีวาว่าปริมาณการใช้ของเรายังต่ำมาก เขาจะ add ให้เรา โดยย้ายโรงงานที่ใช้สารเหล่านี้มาอยู่ประเทศเรา ในระยะหลังรู้สึกผิดสังเกตว่า โรงงานที่ใช้สารพวกฮาโลคาร์บอน พยายามจะเข้ามาลงทุนในไทย จริง ๆ แล้ว CFC-113 ยังไม่มีสารอะไรที่จะทดแทนได้ดี แต่ว่าหลาย ๆ รายได้หันไปใช้ methyl chloroform แทน ซึ่ง methyl chloroform นี้ค่อนข้างจะ less toxic แต่ว่าเป็นสารประเภทควบคุมโดย มอนทรีออล โปรโตคอลเหมือนกัน เมื่อก่อนประเทศไทยเราไม่ได้สนใจในเรื่องนี้เลยเพราะทุกครั้งที่เขาตั้งโรง งาน เราพิจารณาสารที่ใช้เป็นพิษเป็นภัยกับคนงานมากน้อยแค่ไหน เป็นพิษอันตรายต่อคนมากน้อย แต่สมัยนี้เราไม่ได้พิจารณาเพียงเท่านั้น เราก้าวไปข้างหน้าอีกก้าวหนึ่ง คือ เราจะต้องพิจารณาถึงการปกป้องบรรยากาศโลกด้วย เพราะว่าเราไปเข้าเป็นสมาชิกของมอนทรีออล โปรโตคอล เสียแล้ว เราก็ต้องให้ความร่วมมือกับเขาตามสมควร โดยส่วนตัวแล้วสิ่งที่ผมได้ทำ เวลาเขาขออนุญาตตั้งโรงงานประเภทใช้สาร CFCs เข้ามา หรือสารพวกฮาโลคาร์บอนเข้ามา ถ้าเขาจะส่งมาให้ผมพิจารณา ผมเห็นว่าเราน่าจะลด emission ของมัน โลหะที่เขาเอาไปล้าง CFCs แล้ว ก็จะสะอาด ในขณะผึ่งให้แห้ง CFCs จะระเหยออกไปหมดเพราะว่าเป็นสารระเหยง่ายจะออกสู่บรรยากาศหมด โรงงานที่ตั้งระยะหลัง ผมใคร่เสนอว่าจะต้องจับสารระเหยทุกตัวกลับเข้าเครื่องกลั่น ซึ่งใช้ความเย็นแล้วเอากลับมา ใช้ประโยชน์ใหม่เพื่อลด emission สู่บรรยากาศ
สำหรับ CFCs ที่เป็นกรีนเฮาส์แกสนั้น เมื่อเทียบกับคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว CFCs จะมี contribution ต่อ global warming ประมาณ 0.8 องศาเซลเซียล ในขณะที่คาร์บอนไดออกไซด์จะมี contribution ถึง 1.5 องศาเซลเซียล ใน model ที่ทางสหประชาชาติทำไว้ อุณหภูมิโลกเราจะเพิ่มขึ้นประมาณ 3 องศาเซลเซียล คาร์บอนไดออกไซด์มี contribution ครึ่งหนึ่งแล้วแกสตัวอื่น ๆ เช่น โอโซน ไนตรัสออกไซด์ที่เกิดจากธรรมชาติ มีเทนซึ่งเกิดจากการย่อยสลายประเภท anaerobic digestion เหล่านี้เราค่อนข้างจะควบคุมยาก แต่สิ่งที่เราควบคุมได้ง่ายที่สุดคือ สาร CFCs ที่ใช้ในอุตสาหกรรมซึ่งมนุษย์ผลิตขึ้นมา เมื่อมนุษย์สร้างขึ้นมามนุษย์จึงคิดว่ามนุษย์ควรจะควบคุมสารนี้ได้ง่ายกว่า สารที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติดังกล่าวแล้ว ดังนั้นจึงตกลงกันว่าจะควบคุมสาร CFCs ซึ่งจริง ๆ แล้วประเด็นที่สำคัญเราจะต้องดูที่คาร์บอนไดออกไซด์ด้วย เพราะว่าคาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวสำคัญที่ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น คาร์บอนไดออกไซด์จะมีประสิทธิภาพในการดูดความร้อนได้ดี ปรากฏว่าปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศที่เราหายใจ มีความสัมพันธ์กับปริมาณเชื้อเพลิงประเภทสาร อินทรีย์ ที่เรานำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงปิโตรเลียม และมีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้น วิธีแก้ปัญหาจะต้องแก้ที่ต้นเหตุในเมื่อคาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวการใหญ่ที่ ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น เราจะต้องพยายามลดคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ วิธีลดก็คือจะต้องพยายามสนับสนุนเอาอะไรก็ได้ที่จะมาดูดคาร์บอนไดออกไซด์ไป ใช้ได้ อย่างเช่น การส่งเสริมการปลูกป่า ส่งเสริมการพิทักษ์ป่า เพราะว่าต้นไม้จะมีการสังเคราะห์แสง ใช้คาร์บอนไดออกไซด์เป็นวัตถุดิบ อย่างหนึ่งที่ใช้ในการสังเคราะห์อาหาร ต้นไม้เขียว ๆ จำนวนมากช่วยกันดูดคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ คาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยายกาศก็จะลดลง ปัญหาขณะนี้ก็คือเรากำลังทำลายต้นไม้กันมาก สิ่งที่จะนำคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศไปใช้จึงน้อยลง และอีกประการหนึ่งเมื่อโอโซนถูกทำลาย รังสีอุลตราไวโอเลต-บี ก็เพิ่มขึ้น ก็จะมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ในน้ำ อย่างเช่น พวกไมโคร แพลงค์ตอน เป็นต้น พวกนี้เป็นพื้นฐานในวงจรอาหาร เมื่อถูกกระทบเสียหายก็จะมีปัญหาในเรื่องการผลิตอาหาร และไมโคร แพลงค์ตอน จะต้องใช้คาร์บอนไดออกไซด์ด้วยในการสังเคราะห์แสงของมัน เมื่อมันถูกทำลายโดย UVB สิ่งที่จะใช้คาร์บอนไดออกไซด์ก็จะลดไปด้วย ในขณะที่ป่าไม้ก็ลด และไมโครแพลงค์ตอนก็ถูกทำลาย คาร์บอนไดออกไซด์จึงเหลือเฟือในบรรยากาศ ดังนั้นก็จะต้องช่วย ๆ กันปลูกต้นไม้ ปลูกป่า ผมสนับสนุนเต็มที่ บ้านใครมีพื้นที่ว่างก็ปลูกกันเลย
“ภาวะโลกร้อน” ความเครียดของโลก
ปัจจุบัน ประชาคมโลกให้ความสำคัญกับปัญหาที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ด้วยตระหนักว่า สิ่งแวดล้อมดีหรือไม่ดีล้วนส่งผลกระทบต่อสุขภาพและชีวิตความเป็นอยู่ของ ประชาชนพลโลกกันถ้วนหน้า
            ในประเทศไทยเอง ...เรื่องราวของการตรวจสอบมลพิษในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดก็กำลังเข้มข้น เป็นข่าวพาดหัวในหนังสือพิมพ์หลายฉบับตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ต่อเนื่องถึงปัจจุบัน
                ในระดับโลก...ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) อันมีสาเหตุจากปรากฎการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect)
โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นตัวการสำคัญ ก็กำลังได้รับความสนใจยิ่ง                เมื่อวันจันทร์ที่ 29 มกราคม ที่ผ่านมา เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ก็ได้ออกมาย้ำว่าคณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ อากาศ หรือ ไอพีซีซี (Intergovernment Panel on Climate Change, IPCC) กำลังประชุมกันที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เพื่อตรวจ (ร่าง) รายงานว่าด้วยเรื่องผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในขั้นสุดท้าย ก่อนที่จะเผยแพร่สู่สาธารณชนในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2550 นี้
รายงานดังกล่าว รวบรวมงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ 2,500 คน จากกว่า 130 ประเทศ โดยใช้เวลาในการรวบรวมถึง 6 ปี
            เนื้อหาเด่นของรายงานระบุว่า มีความเป็นไปได้อย่างน้อย 90 เปอร์เซนต์ที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งเมื่อ 6 ปี ที่แล้ว รายงานระบุความเป็นไปได้อยู่ที่ 66 เปอร์เซ็นต์(สรุปก็คือ รายงานได้เพิ่มความน่าเชื่อถือว่ามนุษย์เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้โลกร้อน)

   ในรายงาน ยังได้นำเสนอผลการประเมินแนวโน้มที่ว่า ในช่วงศตวรรษที่ 21 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 2.0-4.5 องศาเซลเซียส
                แม้หลายประเทศที่อยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตร รวมทั้งประเทศไทยสัมผัสอากาศร้อนจนเคยชิน คนไทยหลายคนจึงไม่ค่อยตื่นตัวว่า “อุณหภูมิที่สูงขึ้นไม่กี่องศาที่เพิ่มขึ้นนั้น จะกระทบกับกรุงเทพฯ หรือจังหวัดอื่นอย่างไร?” แต่หลักฐานผลการวิจัยของปัญหาอันอาจมีสาเหตุจากโลกร้อนหลายชิ้นทั่วโลก ที่ทยอยเผยแพร่ออกมาในช่วง 2 –3 ปีที่ผ่านมา เช่น
-          พืชอย่างดอกเชอร์รี่ และองุ่น ออกดอกและผลเร็วกว่าปกติ
-          เพนกวินจักรพรรดิในทวีปแอนตาร์กติกหรือขั้วโลกใต้ มีจำนวนคู่ผสมพันธุ์ลดลงจาก 300 คู่ เหลือเพียง 9 คู่
-          องค์การอนามัยโลกได้สำรวจการแพร่ระบาดของมาลาเรียในเขตตะวันออกเฉียงใต้ของ ยุโรปในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา พบว่ามาลาเรียได้ขยายวงจากสามประเทศ ไปถึงรัสเซียกับอีก 6 ประเทศใกล้เคียง

และอีกหลายๆ ผลการวิจัย [น้ำท่วม คลื่นความร้อนสูง พื้นที่แห้งแล้ง ภูเขาน้ำแข็งละลาย (ที่กระทบต่อปริมาณน้ำทะเลและพื้นที่ชายฝั่ง) ฯลฯ ] ที่สะท้อนให้เห็นปัญหาร่วมกันของประเทศไทยกับประเทศอื่นทั่วโลก
ภาวะโลกร้อนเกิดจากอะไร ?
ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas) เป็นก๊าซที่มีคุณสมบัติในการดูดซับคลื่นรังสีความร้อน หรือรังสีอินฟาเรดได้ดี ก๊าซเหล่านี้มีความจำเป็นต่อการรักษาอุณหภูมิในบรรยากาศของโลกให้คงที่ ซึ่งหากบรรยากาศโลกไม่มีก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ ดังเช่นดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ในระบบสุริยะแล้ว จะทำให้อุณหภูมิในตอนกลางวันนั้นร้อนจัด และในตอนกลางคืนนั้นหนาวจัด เนื่องจากก๊าซเหล่านี้ดูดคลื่นรังสีความร้อนไว้ในเวลากลางวัน แล้วค่อยๆ แผ่รังสีความร้อนออกมาในเวลากลางคืน ทำให้อุณหภูมิในบรรยากาศโลกไม่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน
มีก๊าซจำนวนมากที่มีคุณสมบัติในการดูดซับคลื่นรังสีความร้อน และถูกจัดอยู่ในกลุ่มก๊าซเรือนกระจก ซึ่งมีทั้งก๊าซที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญคือ ไอน้ำ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โอโซน มีเทนและไนตรัสออกไซด์ สารซีเอฟซี เป็นต้น แต่ ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกควบคุมโดยพิธีสารเกียวโต มีเพียง 6 ชนิด โดยจะต้องเป็นก๊าซที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ (anthropogenic greenhouse gas emission) เท่านั้น ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซมีเทน (CH4) ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N20) ก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFC) ก๊าซเพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFC) และก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6) ทั้งนี้ ยังมีก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง คือ สารซีเอฟซี (CFC หรือ Chlorofluorocarbon) ซึ่งใช้เป็นสารทำความเย็นและใช้ในการผลิตโฟม แต่ไม่ถูกกำหนดในพิธีสารเกียวโต เนื่องจากเป็นสารที่ถูกจำกัดการใช้ในพิธีสารมอนทรีออลแล้;
ฝ่ายชะลอน้ำ (Check Dam) โดยใช้แนวพระราชดำริทฤษฎีการพัฒนาและฟื้นฟูป่าไม้
             พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงความสำคัญของการอยู่รอดของป่าไม้ เป็นอย่างยิ่ง  ทรงเสนออุปกรณ์อันเป็นเครื่องมือที่จะใช้ประโยชน์ในการอนุรักษ์และฟื้นฟู ป่าไม้ที่ได้ผลดียิ่งกล่าวคือ ปัญหาสำคัญที่เป็นตัวแปรแห่งความอยู่รอดของป่าไม้นั้น ?น้ำ? คือสิ่งที่ขาดไม่ได้โดยแท้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแนะนำให้ใช้ฝายกั้นน้ำหรือเรียกว่า Check Dam หรืออาจเรียกขานกันว่า ?ฝายชะลอความชุ่มชื้น? ก็ได้เช่นกัน
            Check Dam คือสิ่งที่ก่อสร้างขวางกั้นทางเดินของลำน้ำ ซึ่งปกติมักจะกั้นห้วยลำธารขนาดเล็กในบริเวณที่เป้นต้นน้ำหรือพื้นที่ที่มี ความลาดชันสูง ทำให้พืชสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และหากช่วงที่น้ำไหลแรงก็สามารถชะลอการไหลของน้ำให้ช้าลงและกักเก็บตะกอนไม่ ให้ไหลดทลงไปในบริเวณลุ่มน้ำตอนล่าง นับเป็นวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำได้ดีมากวีธีการหนึ่ง
            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชาธิบายว่า การปลูกป่าทดแทนป่าไม้ที่ถูกทำลายนั้น ??จะต้องสร้างฝายเล็กเพื่อหนุนน้ำส่งไปตามเหมืองไปใช้ในพื้นที่เพาะปลูกทั้ง สองด้าน ซึ่งจะให้น้ำค่อย ๆ แผ่ขยายออกไปทำความชุ่มชื้นในบริเวณนั้นด้วย...?
            ในส่วนของรูปแบบและลักษณะ Check Dam นั้น ได้พระราชทานพระราชดำรัสไว้ว่า ??ให้พิจารณาดำเนินการสร้างฝายราคาประหยัด โดยใช้วัสดุราคาถูกและหาง่ายในท้องถิ่น เช่น แบบทิ้งหินคลุมด้วยตาข่ายปิดกั้นร่องน้ำกับลำธารเล็ก ๆ เป็นระยะ ๆ เพื่อให้เก็บกักน้ำและตะกอนดินไว้บางส่วน โดยน้ำที่กักเก็บไว้จะซึมเข้าไปในดินทำให้ความชุ่มชี้นแผ่ขยายออกไปทั้งสอง ข้าง ต่อไปจะสามารถปลูกพันธุ์ไม้ป้องกันไฟ พันธุ์ไม้โตเร็ว และพันธุ์ไม้ไม่ทิ้งใบ เพื่อฟื้นฟูที่ต้นน้ำลำธารให้มีสภาพเขียวชอุ่มขึ้นเป็นลำดับ...?
            ประเภทของ Check Dam นั้น ทรงแนกออกเป็น 2 ประเภท ดังพระราชดำรัสคือ ?? Check Dam มี 2 อย่าง ชนิดหนึ่งสำหรับให้มีความชุ่มชื้น รักษาความชุ่มชื้น อีกอย่างสำหรับป้องกันมิให้ทรายลงในอ่างใหญ่?
            จึงอาจกล่าวได้ว่า Check Dam นั้น ประเภทแรก คือ ฝายต้นน้ำลำธารหรือฝายชะลอความชุ่มชื้น ส่วนประเภทที่สองนั้นเป็นฝายดักตะกอนนั่นเอง
            การสร้าง Check Dam พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมในรายละเอียดว่า
            ?...สำหรับ Check Dam ชนิดป้องกันไม่ให้ทรายไหลลงไปในอ่างใหญ่จะต้องทำให้ดีและลึกเพราะทรายลงมาก จะกักเก็บไว้ ถ้าน้ำตื้นทรายจะข้ามไปลงอ่างใหญ่ ถ้าเป็น Check Dam สำหรับรักษาความชุ่มชื้นไม่จำเป็นต้องขุดลึกเพียงแต่กักน้ำให้ลงไปในดิน แต่แบบกักทรายนี้จะต้องทำให้ลึกและออกแบบอย่างไรไม่ให้น้ำลงมาแล้วไล่ทราย ออกไป...?
            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวพระราชดำริเกี่ยวกับการพิจารณา สร้างฝายชะลอความชุ่มชื้นขึ้น เพื่อสร้างระบบวงจรน้ำแก่ป่าไม้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด คือ
            ??ให้ดำเนินการสำรวจทำเลสร้างฝายต้นน้ำลำธารในระดับที่สูงที่ใกล้บริเวณยอด เขามากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ลักษณะของฝายดังกล่าวจำเป็นจะต้องออกแบบใหม่ เพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้ปริมาณมากพอสมควรเป็นเวลานาน 2 เดือน ... การเก็บรักษาน้ำสำรองได้นานหลังจากฤดูฝนผ่านไปแล้ว จะทำให้มีปริมาณน้ำหล่อเลี้ยงและประคับประคองกล้าไม้พันธุ์ที่แข็งแรงและโต เร็วที่ใช้ปลูกแซมในป่าแห้งแล้งอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง โดยการจ่ายน้ำออกไปรอบ ๆ ตัวฝายจนสามารถตั้งตัวได้?
            Check Dam ตามแนวพระราชดำริ กระทำได้ 3 รูปแบบ คือ
            1. Check Dam แบบท้องถิ่นเบื้องต้น เป็นการก่อสร้างด้วยวัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ เช่น กิ่งไม้และท่อนไม้ล้ม ขอนนอนไพร ขนาบด้วยก้อนหินขนาดต่าง ๆ ในลำห้วย ซึ่งเป็นการก่อสร้างแบบง่าย ก่อสร้างในบริเวณตอนบนของลำห้วยหรือร่องน้ำ ซึ่งสามารถดักตะกอนชะลอการไหลของน้ำและเพิ่มความชุ่มชื้นบริเวณรอบฝายได้ เป็นอย่างดี วิธีการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยมาก หรืออาจไม่มีค่าใช้จ่ายเลยนอกจากใช้แรงงานเท่านั้น
            การก่อสร้าง Check Dam แบบง่ายนี้สามารถทำได้หลายวิธี เช่น
            1.1 ก่อสร้างด้วยท่อนไม้ขนาบด้วยหิน
            1.2 ก่อสร้างด้วยไม้ขบานด้วยถุงบรรจุดินหรือทราย
            1.3 ก่อสร้างแบบคอกหมูแกนดินอัดขบานด้วยหิน
            1.4 ก่อสร้างแบบเรียงด้วยหินแบบง่าย
            1.5 ก่อสร้างแบบคอกหมูหินทิ้ง
            1.6 ก่อสร้างแบบคอกหมูถุงทรายซีเมนต์
            1.7 ก่อสร้างแบบหลักคอนกรีตหินทิ้ง
            1.8 ก่อสร้างแบบถุงทรายซีเมนต์
            1.9 ก่อสร้างแบบคันดิน
            1.10 ก่อสร้างแบบหลักไม้ไผ่สานขัดกัน อันเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้าน
            2. Check Dam แบบเรียงด้วยหินค่อนข้างถาวร ก่อสร้างด้วยการเรียงหินเป็นผนังกั้นน้ำก่อสร้างบริเวณตอนกลางและตอนล่างของ ลำห้วยหรือร่องน้ำ จะสามารถดักตะกอนและเก็บกักน้ำในฤดูแล้งได้ดีบางส่วน
            3. Check Dam แบบคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นการก่อสร้างแบบถาวร ส่วนมากจะดำเนินการในบริเวณตอนปลายของลำห้วยหรือร่องน้ำ จะสามารถดักตะกอนและเก็บกักน้ำในฤดูแล้งได้ดี ค่าก่อสร้างเฉลี่ยประมาณ 40,000-50,000 บาท แล้วแต่ขนาดของลำห้วยซึ่งควรมีความกว้างไม่เกิน 4 เมตร
            ข้อคำนึงในการสร้าง Check Dam
            1. ควรสำรวจสภาพพื้นที่ วัสดุก่อสร้างตามธรรมชาติ และรูปแบบ Check Dam ที่เหมาะสมกับภูมิประเทศมากที่สุด
            2. ต้องคำนึงถึงความแข็งแรงให้มากพอที่จะไม่เกิดการพังทลายเสียหายยามที่ในตกหนักและกระแสน้ำไหลแรง
            3. ควรก่อสร้างในพื้นที่ที่ช่องลำห้วยมีความลาดชันต่ำ เพื่อที่จะได้ Check Dam ในขนาดที่ไม่เล็กเกินไป อีกทั้งยังสามารถกักน้ำและตะกอนได้มากพอสมควร และในลำห้วยที่มีความลาดชันสูงก็ควรสร้าง Check Dam ให้ถี่ขึ้น
            4. วัสดุก่อสร้าง Check Dam ประเภทกิ่งไม้ ท่อนไม้ ที่นำมาใช้ในการสร้างจะต้องนะมัดระวังใช้เฉพาะไม้ล้มขอนนอนไพรเป็นลำดับแรก ก่อนที่จะใช้กิ่งไม้ ท่อนไม้จากการริดกิ่ง ถ้าจำเป็นให้ใช้น้อยที่สุด
            5. ถ้าสร้าง Check Dam แบบคอกหมูแกนดินอัดแน่น ควรมีทางระบายน้ำด้านข้างเพื่อป้องกันน้ำกัดชะสันฝายจากการที่มีฝนตกหนักจน มีน้ำหลากมาก
            6. ควรปลูกไม้ยืนต้นยึดดินบนสันฝาย เช่น ไคร้น้ำ หรือไม้ชนิดอื่น ๆ ที่สามารถขึ้นได้ดีบนที่ชื้น
            7. ควรดำเนินการก่อสร้าง Check Dam หลังฤดูฝนหรือหลังน้ำหลาก และทุกปีควรมีการบำรุงรักษา ขุดลอกตะกอน ซ่อมแซมสันฝายและทางระบายน้ำล้นอยู่เป็นประจำ
            แนวทางที่เหมาะสมในการสร้าง Check Dam
            ก่อนดำเนินการ ควรสำรวจร่องน้ำลำห้วยในพื้นที่ที่มีปัญหาการพังทลายของดินหรือปัญหาพื้นที่ ขาดความ   ชุ่มชื้น โดยพิจารณาถึงความลาดชันของร่องน้ำและสำรวจหาข้อมูลปริมาณน้ำไหลในร่องน้ำมา ใช้ประกอบการเลือกตำแหน่งสร้าง Check Dam ดังนี้
            1. ในพื้นที่ลาดชันสูง ในกรณีที่ความกว้างของลำห้วยไม่เกิน 2 เมตร ควรสร้างฝายผสม ใช้วัสดุธรรมชาติ ไม้ท่อน หิน ถุงบรรจุดินหรือทราย แต่ถ้าความกว้างของลำห้วยมากกว่า 2 เมตร หรือในลำห้วยมีน้ำมากควรเพิ่มโครงสร้างของ Check Dam เป็นแบบคอกหมูที่มีโครงสร้างหลายระดับมากน้อยตามปริมาณน้ำ
            2. ในพื้นที่ลาดชันปานกลาง ควรสร้าง Check Dam แบบคอกหมูหรือแบบท้องถิ่นของชาวบ้าน ถ้าเป็นแบบคอกหมูให้ใช้หินเรียงหรือกระสอบทรายผสมซีเมนต์ขนาบโครงสร้าง
            3. ในพื้นที่ลาดชันต่ำ ในกรณีที่มีน้ำมากควรสร้างฝายคอนกรีตเสริมเหล็ก แต่ถ้ามีน้ำไม่มากนักและความกว้างไม่เกิน 2 เมตร อาจใช้ถุงทรายผสมซีเมนต์ได้
            นานาประโยชน์จาก Check Dam อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
            1. ช่วยลดการพัลทะลายของดินและลดความรุนแรงของกระแสน้ำในลำห้วย ทำให้ระยะเวลาการไหลของน้ำเพิ่มมากขึ้น ความชุ่มชื้นมีมากขึ้น และแผ่ขยายกระจายความชุ่มชื้นออกไปเป็นวงกว้างในพื้นที่ทั้งสองฝั่งของ ลำห้วย
            2. ช่วยกักเก็บตะกอนที่ไหลลงมากับน้ำในลำห้วยได้ดี เป็นการช่วยยืดอายุแหล่งน้ำตอนล่างให้ตื้นเขินช้าลง คุณภาพของน้ำมีตะกอนปะปนน้อยลง
            3. เพิ่มความหลาดหลายทางชีวภาพให้แก่พื้นที่ จากการที่ความชุ่มชื้นเพิ่มมากขึ้น ความหนาแน่นของพันธุ์พืชก็ย่อมจะมีมากขึ้น
            4. การที่สามารถกักเก็บน้ำไว่ได้บางส่วนนี้ ทำให้กิดเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ และใช้เป็นแหล่งน้ำเพื่อการบริโภคของมนุษย์และสัตว์ต่าง ๆ ตลอดจนนำไปใช้ในการเกษตรได้อีกด้วย
            Check Dam  จึงนับเป็นพระราชดำริที่เป็นทฤษฎีการพัฒนาป่าไม้ที่ยังประโยชน์สุขแก่มนุษยชาติทั้งมวล
ปัจจุบัน ทางกลุ่มป่าสร้างฝัน เขาใหญ่ นครนายก ได้นำแนวคิด ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องฝายชะลอน้ำ มาจัดทำโครงการฝายชะลอน้ำ ใน 2 พื้นที่ ต้นน้ำรอบๆ เขื่อนขุนด่านปราการชล ใน ตำบลหินตั้ง และ ตำบลสาริกา อ. เมือง จ. นครนายก  คือ ต้นน้ำลำธารสายคลองบ่อ จำนวนโครงการ 5  ฝาย  แล้วเสร็จ 2 ฝาย  และ ต้นน้ำลำธารสายคลองมะเดื่อ  จำนวนโครงการ 5 ฝาย แล้วเสร็จ 2 ฝาย และจะดำเนินการต่อไปเรื่อยๆ เพื่อรักษาความชุ่มชื่นของผืนป่าเขาใหญ่ ฝั่งนครนายก ให้คงอยู่ต่อไป
กลุ่มป่าสร้างฝัน เขาใหญ่ นครนายก
www.khaoyai.info


 

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมมีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตเกิดจากการกระทำของมนุษย์หรือมีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น อากาศ ดิน หิน แร่ธาตุ น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ ทะเล มหาสมุทร พืชพรรณสัตว์ต่าง ๆ ภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ ฯลฯ สิ่งแวดล้อมดังกล่าวจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยเฉพาะมนุษย์เป็นตัวการสำคัญยิ่งที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงทั้งในทางเสริมสร้างและทำลาย
จะเห็นว่า ความหมายของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ต่างกันที่สิ่งแวดล้อมนั้นรวมทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฎอยู่รอบตัวเรา ส่วนทรัพยากรธรรมชาติเน้นสิ่งที่อำนวยประโยชน์แก่มนุษย์มากกว่าสิ่งอื่น
ประเภทของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ก. ทรัพยากรธรรมชาติ แบ่งตามลักษณะที่นำมาใช้ได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. ทรัพยากรธรรมชาติประเภทใช้แล้วไม่หมดสิ้น ได้แก่
   1) ประเภทที่คงอยู่ตามสภาพเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เลย เช่น พลังงาน จากดวงอาทิตย์ ลม อากาศ ฝุ่น ใช้เท่าไรก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไม่รู้จักหมด
   2) ประเภทที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากถูกใช้ในทางที่ผิด เช่น ที่ดิน น้ำ ลักษณะภูมิประเทศ ฯลฯ ถ้าใช้ไม่เป็นจะก่อให้เกิดปัญหาตามมา ได้แก่ การปลูกพืชชนิดเดียวกันซ้ำ ๆ ซาก ๆ ในที่เดิม ย่อมทำให้ดินเสื่อมคุณภาพ ได้ผลผลิตน้อยลงถ้าต้องการให้ดินมีคุณภาพดีต้องใส่ปุ๋ยหรือปลูกพืชสลับและหมุนเวียน
2. ทรัพยากรธรรมชาติประเภทใช้แล้วหมดสิ้นไป ได้แก่
   1) ประเภทที่ใช้แล้วหมดไป แต่สามารถรักษาให้คงสภาพเดิมไว้ได้ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า ประชากรโลก ความอุดมสมบูรณ์ของดิน น้ำเสียจากโรงงาน น้ำในดิน ปลาบางชนิด ทัศนียภาพอันงดงาม ฯลฯ ซึ่งอาจทำให้เกิดขึ้นใหม่ได้
   2) ประเภทที่ไม่อาจทำให้มีใหม่ได้ เช่น คุณสมบัติธรรมชาติของดิน พร สวรรค์ของมนุษย์ สติปัญญา เผ่าพันธุ์ของมนุษย์ชาติ ไม้พุ่ม ต้นไม้ใหญ่ ดอกไม้ป่า สัตว์บก สัตว์น้ำ ฯลฯ
   3) ประเภทที่ไม่อาจรักษาไว้ได้ เมื่อใช้แล้วหมดไป แต่ยังสามารถนำมายุบให้ กลับเป็นวัตถุเช่นเดิม แล้วนำกลับมาประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เช่น โลหะต่าง ๆ สังกะสี ทองแดง เงิน ทองคำ ฯลฯ
   4) ประเภทที่ใช้แล้วหมดสิ้นไปนำกลับมาใช้อีกไม่ได้ เช่น ถ่านหิน น้ำมันก๊าซ อโลหะส่วนใหญ่ ฯลฯ ถูกนำมาใช้เพียงครั้งเดียวก็เผาไหม้หมดไป ไม่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้
   ทรัพยากรธรรมชาติหลักที่สำคัญของโลก และของประเทศไทยได้แก่ ดิน ป่าไม้ สัตว์ป่า น้ำ แร่ธาตุ และประชากร (มนุษย์)
ข. สิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมของมนุษย์ที่อยู่รอบ ๆ ตัว ทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ซึ่งเกิดจาก การกระทำของมนุษย์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
2. สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม หรือสิ่งแวดล้อมประดิษฐ์ หรือมนุษย์เสริมสร้างกำหนดขึ้น
สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ จำแนกได้ 2 ชนิด คือ
1) สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ อากาศ ดิน ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะ ภูมิอากาศ ทัศนียภาพต่าง ๆ ภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ ทะเล มหาสมุทรและทรัพยากรธรรมชาติทุกชนิด
2) สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพหรือชีวภูมิศาสตร์ ได้แก่ พืชพันธุ์ธรรมชาติต่าง ๆ สัตว์ป่า ป่าไม้ สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่อยู่รอบตัวเราและมวลมนุษย์
สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม หรือสิ่งแวดล้อมประดิษฐ์ หรือมนุษย์เสริมสร้างขึ้น ได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางสังคมที่มนุษย์เสริมสร้างขึ้นโดยใช้กลวิธีสมัยใหม่ ตามความเหมาะสมของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ศาสนา และวัฒนธรรม เช่น เครื่องจักร เครื่องยนต์ รถยนต์ พัดลม โทรทัศน์ วิทยุ ฝนเทียม เขื่อน บ้านเรือน โบราณสถาน โบราณวัตถุท อื่น ๆ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ค่านิยม และสุขภาพอนามัย
สิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่งเกิดจากสาเหตุ 2 ประการ คือ
1) มนุษย์
2) ธรรมชาติแวดล้อม มนุษย์ เป็นตัวการเปลี่ยนแปลงสังคมเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง มากกว่าสิ่ง อื่น เช่น ชอบจับปลาในฤดูวางไข่ ใช้เครื่องมือถี่เกินไปทำให้ปลาเล็ก ๆ ติดมาด้วย ลักลอบตัดไม้ทำลายป่า เพื่อนำมาสร้างที่อยู่อาศัย ส่งเป็นสินค้า หรือเพื่อใช้พื้นที่เพาะปลูกปล่อยของเสียจากโรงงานและไอเสียจากรถยนต์ทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ (น้ำเน่า อากาศเสีย)
ธรรมชาติแวดล้อม ส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ เช่น แม่น้ำที่พัดพาตะกอนไปทับถมบริเวณน้ำท่วม และปากแม่น้ำต้องใช้เวลานานจึงจะมีตะกอนมาก การกัดเซาะพังทลายของดินก็เช่นเดียวกัน ส่วนการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนั้นเกิดจากแรงภายในโลก เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด อื่น ๆ ได้แก่ อุทกภัยและวาตภัย ไฟป่า เป็นต้น ซึ่งภัยธรรมชาติดังกล่าวจะไม่เกิดบ่อยครั้งนัก
สรุป มนุษย์เป็นตัวการสร้าง และทำลายสิ่งแวดล้อมมากกว่าธรรมชาติ ความสำคัญของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
สหรัฐอเมริกา ได้ส่งดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลก (Earth Resources Technology Satellite หรือ ERTS) ดวงแรกของโลกเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ดาวเทียมนี้จะโคจรรอบโลกจากขั้วโลกเหนือไปทางขั้วโลกใต้รวม 14 รอบต่อวันและจะโคจรกลับมาจุดเดิมอีกทุก ๆ 18 วัน ข้อมูลที่ได้จากดาวเทียมจะมีทั้งรูปภาพและเทปสมองกลบันทึกไว้ ซึ่งมีประโยชน์อย่างยิ่งในการช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติของโลก ส่วนประเทศไทยก็ได้รับข้อมูล และภาพที่เป็นประโยชน์ในด้านการเกษตร การสำรวจทางธรณีวิทยา ป่าไม้ การชลประทาน การประมง หลังจากที่สหรัฐส่งดาวเทียมดวงแรกได้ 1 ปีแล้ว ได้ส่งสกายแล็บ และดาวเทียมตามโครงการดังกล่าวอีก 2 ดวง ในปี พ.ศ. 2520 และ พ.ศ. 2522 นับว่ามีส่วนช่วยส่งเสริมพัฒนาความรู้ในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและการวางโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทุกชนิดบนพื้นโลก
ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ ป่าไม้ สัตว์ป่าและปลา น้ำ ดิน อากาศ แร่ธาตุ มนุษย์และทุ่งหญ้า

วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เก็บขยะ ณ สวนสาธารณะ

ทำความสะอาดในสวนสาธารณะ








ภาพถ่ายทั้งหมดนี้ คือ การเก็บขยะที่สวนสาธารณะจังหวัด ราชบุรี
เพราะเป็นสถานที่สาธารณะ จึงมีขยะมากมายและเป็นสถานที่ใกล้บ้านของสมาชิกทุกคนในกลุ่ม พวกเราจึงขออาสามาเก็บขะที่นี้ เพราะ สวนนี้เป็นสวนที่สวยงามไม่ควรที่จะมีขยะเกลื่อนกลาด
พวกเราทุกคนจึงต้องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนี้ไปให้คงอยู่กับเราไปนานๆ

ระยะเวลาในการเก็บนั้น เราใช้เวลาว่างหลังกีฬาสีตั้งแต่วันที่ 3 -5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 พวกเราเก็บขยะช่วงเย็นเพราะเป็นเวลาที่ขยะเยอะมากที่สุด



จัดทำโดย
นาย ภาณุพงศ์ ขุนชำนิ             ชั้นม.5/12   เลขที่ 14
นางสาว ชเนตตี แย้มกลีบ        ชั้นม.5/12   เลขที่ 39
นาสาว สิริพร สามงามเถื่อน      ชั้นม.5/12    เลขที่ 42
นางสาว ธิติรัตน์ นุชสนิท         ชั้นม.5/12   เลขที่ 46
นางสาว มนธิชา ริมธีระกุล       ชั้นม.5/12   เลขที่ 47
                                

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม




ประชา อินทร์แก้ว ( 2542 ) ได้ให้ความหมายของการอนุรักษ์เอาไว้ว่า การอนุรักษ์ ( Conservation ) หมายถึง การรู้จักใช้ทรัพยากร อย่างชาญฉลาด ให้เป็นประโยชน์ต่อมหาชนมากที่สุด และใช้ได้เป็นเวลายาวนานที่สุด ทั้งนี้ต้องให้สูญเสียทรัพยากรโดยเปล่า ประโยชน์น้อยที่สุด และจะต้องกระจายการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรโดยทั่วถึงกันด้วย ฉะนั้น การอนุรักษ์จึงไม่ได้หมายถึงการเก็บรักษาทรัพยากรไว้เฉย ๆ แต่ต้องนำทรัพยากรมาใช้ประโยชน์ให้ถูกต้องตามกาละ เทศะ ( Time and Space ) อีกด้วย หลักการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาตินั้น มีหลัก 3 ประการ คือ (ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์ , 2546)
                   
1. ต้องใช้ทรัพยากรอย่างฉลาด กล่าวคือ ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ถึงผลได้ผลเสียจากการใช้ทรัพยากรตามหลักเศรษฐศาสตร์ และเมื่อใช้แล้ว จะเกิดการขาดแคลนในอนาคตหรือไม่
                   
 2. ประหยัดของที่หายาก หมายความว่าทรัพยากรใดที่มีน้อยหรือหายากก็ควรเก็บรักษาหรือสงวนเอาไว้ไม่ให้สูญหายไป ของบางอย่างถ้าอยู่ในสภาพที่พอจะใช้ได้ก็ควรจะใช้ต่อไป และใช้อย่างประหยัดอย่าฟุ่มเฟือย
                   
3. หาวิธีฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีหรือเสื่อมโทรมให้ดีขึ้น กล่าวคือ ทรัพยากรใดที่มีสภาพล่อแหลมต่อการสูญเปล่าหรือหมดไป ก็ควรที่จะซ่อมแซมหรือปรับปรุงให้อยู่ในสภาพที่ดีขึ้น
                   
แนวทางในการดำเนินการเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
                   
ในการดำเนินการเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาตินั้น มีแนวทางดำเนินการตามวิธีการต่าง ๆ ดังนี้ ( ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์, 2546)
                   
1. ให้การศึกษาแก่นักเรียนและประชาชน การศึกษาจะช่วยให้คนเข้าใจ เกิดความตระหนัก เกิดจริยธรรมที่ดีและไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ การดำเนินการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติจะมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ดังนั้นการจัดการศึกษาในเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติควรมีการสอดแทรกเข้าไปในบทเรียนทุกระดับชั้น เพื่อให้เยาวชนได้เห็นคุณค่าและความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
                   
2. ออกกฎหมายควบคุม เนื่องจากกฎหมายเป็นข้อบังคับที่ทุกคนจะต้องปฏิบัติตาม การนำข้อบังคับทางกฎหมายเข้ามาช่วยควบคุม หรือบังคับให้ผู้ก่อให้เกิดมลพิษจำเป็นต้องปฏิบัติตาม ถือว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจในระดับหนึ่ง หากมีผู้ฝ่าฝืนกฎหมายก็จะได้รับโทษปรับหรือจำคุก กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้แก่ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ . ศ . 2535 พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
                   
3. การแบ่งเขต เป็นการแบ่งเขตพื้นที่ตามประเภทของทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ สาเหตุที่ใช้การอนุรักษ์แบบแบ่งเขต เนื่องจากวิธีการให้ความรู้และการใช้กฎหมายไม่ได้ผล หรือต้องการจะแบ่งเขตให้ชัดเจนเพื่อให้การอนุรักษ์ได้ผล และจะต้องมีการสร้างมาตรการกำกับในเขตที่แบ่งนั้นด้วย เช่น เขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เมืองควบคุมมลพิษ
                   
4. การใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เนื่องจากการใช้ทรัพยากรเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีและทำให้มีมลพิษเกิดขึ้น ในขณะเดียวกันเราสามารถใช้เทคโนโลยีในการบำบัดหรือกำจัดของเสียที่เกิดขึ้นได้ แต่ต้องเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการกำจัดมลพิษแต่ละชนิด
                   
5. จัดตั้งชมรมหรือสมาคมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติขึ้นในสถานศึกษา โดยมีกลุ่มนักศึกษาที่สนใจร่วมกันจัดตั้งขึ้น เพื่อช่วยกันอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรม ซึ่งจัดว่าเป็นกลุ่มที่บำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคมส่วนรวม
                   
6. การโฆษณาทางวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์และสื่อมวลชนต่าง ๆ เพราะการดำเนินการผ่านสื่อมวลชน จะทำให้ประชาชนทราบข่าวอย่างกว้างขวางและเข้ามามีส่วนร่วมได้มาก และยังเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเอาไว้ตลอดจนเข้าใจบทบาทและหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ รวมทั้งทราบถึงกฎหมาย พระราชบัญญัติ และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและรับผิดชอบ ถ้าประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมก็จะทำให้ประชาชนทุกคนในประเทศ มีคุณภาพชีวิตที่ดี
                   
7. การตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ทำหน้าที่ประสานงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการอิสระในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทุกชนิด นอกจากนี้ยังเป็นการกระตุ้นให้หน่วยงานอื่น ๆ ที่รับผิดชอบได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐ หรือตามกฎหมายเพื่อการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติต่อไป
                                         
    
                    วิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรต่าง ๆ
                     วิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรดิน มีอยู่ 2 วิธีการใหญ่ ๆ คือ โดยวิธีการปลูกพืช ( Agronomic Methods ) และโดยวิธีกล ( Mechanical Methods ) ( ราตรี ภารา , 2540)
                     1. การอนุรักษ์โดยวิธีการปลูกพืช วิธีการนี้พืชจะทำหน้าที่เป็นตัวสกัดกั้นพลังงานของเม็ดฝนที่ตกลงมาก่อนที่จะกระทบกับผิวดินช่วยลดความเร็วของน้ำที่ไหลบ่าและลดอำนาจการกัดเซาะของน้ำและยังช่วยให้ดินมีความพรุนมากขึ้น น้ำสามารถซึมลงไปในดินได้ดีขึ้น การควบคุม การเกิดกษัยการของกิน โดยอาศัยพืชมีอยู่หลายวิธีคือ 
                             1)  การปลูกพืชคลุมดิน
                             2) การปลูกพืชหมุนเวียน
                             3) การปลูกพืชสลับเป็นแถบ ซึ่งเป็นการปลูกพืชต่างชนิดกันสลับกันเป็นแถบตามความลาดชันของพื้นที่
                             4) การคลุมดิน
                             5) การปลูกพืชแบบนวเกษตร
                       2)  การอนุรักษ์โดยวิธีกล
                            การอนุรักษ์ดินโดยวิธีกล หมายถึง วิธีการเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายดินและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เพื่อใช้ป้องกันและควบคุมการพังทลายของดิน การเคลื่อนย้ายดินเป็นการดัดแปลงลักษณะภูมิประเทศของผิวดินในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อทำให้พลังงานที่จะก่อให้เกิดการพังทลายของดินลดลง การป้องกันการพังทลายของดินโดยวิธีกลจะเสียค่าใช้จ่ายสูงต้องมีการออกแบบอย่างถูกต้องและเหมาะสมในวิธีการนั้น ๆ และต้องปฏิบัติร่วมกับ วิธีที่ใช้พืชในการป้องกันการพังทลายของดิน การอนุรักษ์ดินและน้ำโดยวิธีกลที่ใช้กันอยู่มีหลายวิธีคือ การปลูกพืชตามแนวระดับ คูเบนน้ำ ทางน้ำไหลและทางระบายน้ำออก การทำขั้นบันได การไถพรวนแบบอนุรักษ์ เป็นต้น
                    วิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ
                    การอนุรักษ์น้ำ หมายถึงการป้องกันปัญหาที่พึงจะเกิดขึ้นกับน้ำ และการนำน้ำมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการดำรงชีพของมนุษย์ การอนุรักษ์น้ำสามารถดำเนินการได้ดังนี้
                       1.การปลูกป่า
                          โดยเฉพาะการปลูกป่าบริเวณพื้นที่ต้นน้ำ หรือบริเวณพื้นที่ภูเขา เพื่อให้ต้นไม้เป็นตัวกักเก็บน้ำตามธรรมชาติ ทั้งบนดินและใต้ดิน แล้วปลดปล่อยออกมาอย่างต่อเนื่องตลอดปี
                      2.การพัฒนาแหล่งน้ำ
                         เนื่องจากปัจจุบันแหล่งน้ำธรรมชาติต่าง ๆ เกิดสภาพตื้นเขินเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ปริมาณน้ำที่จะกักขังไว้มีปริมาณลดลง การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อให้มีน้ำเพียงพอจึงจำเป็นต้องทำการขุดลอกแหล่งน้ำให้กว้างและลึกใกล้เคียงกับสภาพเดิมหรือมากกว่า ตลอดจนการจัดหาแหล่งน้ำเพิ่มเติม อาจจะกระทำโดยการขุดเจาะน้ำบาดาลมาใช้ ซึ่งต้องระวังปัญหาการเกิดแผ่นดินทรุด หรือการขุดเจาะแหล่งน้ำผิวดินเพิ่มเติม
                      3.การสงวนน้ำไว้ใช้
                         เป็นการวางแผนการใช้น้ำเพื่อให้มีปริมาณน้ำที่มีคุณภาพมาใช้ประโยชน์ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การทำบ่อหรือสระเก็บน้ำ การหาภาชนะขนาดใหญ่เพื่อกักเก็บน้ำฝน (เช่น โอ่งหรือแท็งก์น้ำ) รวมทั้งการสร้างอ่างเก็บน้ำ และระบบชลประทาน
                      4.การใช้น้ำอย่างประหยัด
                         เป็นการนำน้ำมาใช้ประโยชน์หลายอย่างอย่างต่อเนื่องและเกิดประโยชน์สูงสูด ทั้งด้านการอนุรักษ์น้ำและตัวผู้ใช้น้ำเอง กล่าวคือ สามารถลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าน้ำลงได้ ปริมาณน้ำเสียที่จะทิ้งลงแหล่งน้ำมีปริมาณน้อยลง และป้องกันปัญหาการขาดแคลนน้ำ
                      5.การป้องกันการเกิดมลพิษของน้ำ
                         ปัญหาส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในเมืองใหญ่ ๆ ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น หรือย่านอุตสาหกรรม การป้องกันปัญหามลพิษของน้ำ จะต้องอาศัยกฎหมายเป็นเครื่องมือ และเจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรน้ำอย่างเคร่งครัด
                      6.การนำน้ำที่ใช้แล้วกลับไปใช้ใหม่
                         น้ำที่ถูกนำไปใช้แล้ว ในบางครั้งยังมีสภาพที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นได้ เช่น น้ำจากการล้างภาชนะอาหารสามารถนำไปใช้รดน้ำต้นไม้ หรือน้ำจากการซักผ้าสามารถนำไปถูบ้าน สุดท้ายนำไปใช้รดน้ำต้นไม้ เป็นต้น
                      วิธีอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
                      การอนุรักษ์ป่าไม้สามารถกระทำได้ดังนี้ (ราตรี ภารา, 2540 )
                      1. การกำหนดนโยบายป่าไม้แห่งชาติ
                          นโยบายป่าไม้แห่งชาติ มีอยู่ 20 ข้อที่สำคัญ คือ การกำหนดให้มีพื้นที่ป่าไม้ทั่วประเทศอย่างน้อยในอัตราร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศ เป็นการกำหนดแนวทางการจัดการและ การพัฒนาป่าไม้ในระยะยาว
                     2. การปลูกป่า
                         เป็นการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ป่าไม้อย่างหนึ่ง เมื่อป่าไม้ในพื้นที่ถูกตัดฟันลงไม่ว่ากรณีใดก็ตาม นโยบายการรักษาป่าไม้จะกำหนดให้มีการปลูกป่าขึ้นทดแทนและส่งเสริมให้มีการปลูกสร้างสวนป่าทุกรูปแบบ
                     3. การป้องกันไฟไหม้ป่า
                       ไฟไหม้ป่าถือว่าเป็นอันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นกับป่าไม้การฟื้นฟูกระทำได้ยากมาก ไฟไหม้ป่าเกิดจากการกระทำของมนุษย์ จากความประมาทเลินเล่อ ทำให้ต้นไม้บางส่วนอาจตาย บางส่วนอาจชะงักการเจริญเติบโต และบางแห่งอาจตายหมด หากเกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนพืชหมดโอกาสแพร่พันธุ์ได้
                     4. การป้องกันการบุกรุกทำลายป่า
                         การบุกรุกการทำลายป่าไม้ในปัจจุบัน จะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น การป้องกันทำได้โดย การทำหลักเขตป้ายหรือเครื่องหมายให้ชัดเจนเพื่อบอกให้รู้ว่า เป็นเขตป่าประเภทใด การแก้ปัญหานี้สำคัญที่สุดอยู่ที่ การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เป็นไปด้วยความเที่ยงตรง เอาจริงเอาจัง และมีความซื่อสัตย์ต่ออาชีพและหน้าที่ปฏิบัติตามตัวบทกฎหมายและพระราชบัญญัติป่าไม้อย่าง เคร่งครัดจะสามารถป้องกันการทำลายป่าในทุกรูปแบบได้                      5. การใช้วัสดุทดแทนไม้
                         ในการก่อสร้างต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือน หรือสิ่งก่อสร้างอื่นที่เคยใช้ไม้ดั้งเดิม เช่น การสร้างสะพานเพื่อทดแทนสะพานเก่าที่ชำรุด ควรจะใช้เหล็กทำสะพานให้รถวิ่งชั่วคราว ก่อนจะมีสะพานใหม่ที่ถาวรและสร้างได้ด้วยวัสดุอื่นแทนไม้
                     6. การใช้ไม้อย่างมีประสิทธิภาพ / ประหยัด
                         เป็นการนำเนื้อไม้มาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยใช้ทุกส่วนของต้น เช่น ไม้ที่เหลือจากการแปรรูป นำมาใช้เป็นวัสดุก่อสร้างแล้วสามารถนำ ไปเป็นวัตถุดิบทำไม้อัด ไม้ปาร์เก้ชิ้นไม้สับ (Chip board) ไม้ประสาน (Particle board) ทำเครื่องใช้ขนาดเล็ก เช่น แจกัน ที่เขี่ยบุหรี่ ของชำร่วย เป็นต้น ส่วนไม้ที่นำมาแปรรูปเพื่อใช้ในการก่อสร้างหรือเพื่อการอื่น ควรปรับปรุง คุณภาพไม้ ก่อนนำมาใช้ประโยชน์ เช่น การอาบน้ำยาไม้อบให้แห้งเพื่อยึด อายุการใช้งานให้ยาวนานออกไป
                     7. การพยายามนำไม้ที่ไม่เคยใช้ประโยชน์มาใช้
                        ไม้ที่ไม่เคยนำมาใช้ประโยชน์มาก่อน เช่น ไม้มะพร้าว ต้นตาล ไม้ยางพารา นำมาทำเครื่องใช้ในครัวเรือนได้หลายชนิด อาทิ ตู้ เตียง โต๊ะ ก่อนนำมาใช้ประโยชน์ ควรปรับปรุงคุณภาพไม้ก่อน
                     8. ส่งเสริม ประชาสัมพันธ์ ให้การศึกษา
                       ให้เยาวชนและประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของป่าไม้ สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ และช่วยกันดูแลในการรักษาทรัพยากรป่าไม้ เหมือนกับที่เรารักษาและหวงแหนสิ่งของที่เป็นสมบัติของเราเอง
                      วิธีอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่า
                      สัตว์ป่ามีคุณค่าต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมทั้งโดยตรงและโดยอ้อม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการป้องกันและแก้ไขไม่ให้สัตว์ป่าลดจำนวนหรือสูญพันธุ์ไปด้วยการอนุรักษ์สัตว์ป่า ดังนี้(ราตรี ภารา, 2540 )
                      1. การอนุรักษ์พื้นที่ สัตว์ป่าที่ลดจำนวนลงในปัจจุบัน เนื่องจากถิ่นที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารถูกทำลายลงอย่างมาก การจัดหาแหล่งที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัยสำหรับสัตว์ป่า จึงเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นมาก วิธีการอนุรักษ์พื้นที่หรือถิ่นที่อยู่ของสัตว์ป่าทำได้โดยประกาศเป็นพื้นที่อนุรักษ์ ดังต่อไปนี้
                          1.1 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เป็นพื้นที่ที่กำหนดขึ้นเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัยของสัตว์ป่า ปัจจุบันมีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทั่วประเทศ 34 แห่ง เนื้อที่ 17,251,575 ไร่ และกำลังจะประกาศเพิ่มเติมอีก 5 แห่ง เนื้อที่ 1,425,087 ไร่
                           1.2 เขตห้ามล่าสัตว์ป่า เป็นสถานที่ที่ทางราชการได้กำหนดขึ้นเป็นที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัยของสัตว์ป่าบางชนิด
                          1.3 อุทยานสัตว์ป่า เป็นสถานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวในลักษณะซาฟารี ซึ่งจะอำนวยประโยชน์ทางด้านการศึกษา การวิจัย และขยายพันธุ์สัตว์ป่า ตลอดจนเป็นแหล่งที่อยู่ที่ปลอดภัยของสัตว์ป่าชั่วคราวก่อนนำไปปล่อยในที่ที่เหมาะสมต่อไป
                      2. การอนุรักษ์สัตว์ป่าทางวิชาการ การค้นคว้าวิจัยทางวิชาการนับว่าเป็นพื้นฐานสำคัญในการจัดการและอนุรักษ์สัตว์ป่า ด้วยเพราะสัตว์ป่าเป็น สิ่งมีชีวิต จึงจำเป็นต้องกินอาหาร ต้องการความแข็งแกร่งทางร่างกายเพื่อต่อสู้โรคภัยไข้เจ็บและการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ สัตว์ป่า บางชนิดต้องการที่อยู่อาศัย เพื่อเป็นแหล่งผสมพันธุ์หรือเพาะพันธุ์รวมถึงการออกลูก อภิบาลตัวอ่อน การค้นคว้าทางวิชาการสามารถรู้ข้อมูลพฤติกรรม ของสัตว์ป่าแต่ละชนิด แล้วนำมาใช้ในการช่วยเหลือสัตว์ป่าที่กำลังจะสูญพันธุ์หรือมีจำนวนน้อยลงได้
                        การอนุรักษ์สัตว์ป่าทางวิชาการ กระทำโดยสำรวจสัตว์ป่า ซึ่งกรมป่าไม้มีการปฏิบัติงานด้วย

                           
การจัดตั้งหน่วยงานโดยตรง ดังนี้
                           2.1 การตั้งสถานีวิจัยสัตว์ป่า
                           2.2 จัดตั้งศูนย์เพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่า
                           2.3 การจัดตั้งศูนย์การศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่า เพื่อใช้เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ของประชาชนในเรื่องการอนุรักษ์สัตว์ป่า
                       3. การป้องกันและปราบปราม ทำได้โดย
                            3.1 การออกกฎหมายห้ามล่าสัตว์ป่า
                            3.2 ควบคุมการค้าสัตว์ป่า
                            3.3 การประชาสัมพันธ์ เป็นการส่งเสริมเผยแพร่ด้านความรู้เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงคุณค่าของสัตว์ป่า   และให้ความร่วมมือในการอนุรักษ์สัตว์ป่า
                      วิธีอนุรักษ์ทรัพยากรแร่ธาตุ
                      การอนุรักษ์ทรัพยากรแร่จะแตกต่างกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติชนิดอื่น ๆ บ้างแต่อย่างไรก็ตามยังคงต้องยึดหลักการอนุรักษ์ คือ การนำมาใช้ประโยชน์ให้เหมาะสมและคุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุด มิใช่ห้ามขุด ห้ามนำมาใช้ การอนุรักษ์แร่ในปัจจุบัน มีหลายวิธี ดังนี้ (ราตรี ภารา, 2540 )
                           1. การดำเนินงานทางวิชาการ เป็นวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพของการขุด การนำแร่ออกจากแหล่งแร่ รวมไปถึงการตกแต่งหรือแยกแร่ ตลอดจนการถลุงแร่ให้บริสุทธิ์ ในกรณีแร่โลหะ การเพิ่มประสิทธิภาพจะหมายถึง การพยายามสกัดเอาแร่ออกมาให้หมดหรือมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แม้ว่าการกระทำดังกล่าวจะต้องเพิ่มรายจ่ายหรือมีผลกำไรลดลงก็ตาม
                            2. การใช้แร่ธาตุอย่างมีประสิทธิภาพ คือการใช้แร่ธาตุอย่างประหยัด โดยให้เกิดการสิ้นเปลืองน้อยที่สุด แต่ได้ผลงานมากและใช้ได้นานที่สุด
                           3. การนำแร่ที่ใช้ประโยชน์แล้วกลับมาใช้ได้อีก ปัจจุบันเริ่มนิยมกระทำกันมากในวงการอุตสาหกรรม ด้วยการนำเศษวัสดุที่เป็นทั้งโลหะและอโลหะประเภทต่าง ๆ มาแยกประเภท แล้วนำมาแปรรูปหรือเข้ากระบวนการผลิตใหม่อีกครั้ง
                           4. การใช้สิ่งอื่นทดแทน การนำสิ่งอื่นหรือแร่ธาตุอื่นมาใช้ นับว่าเป็นการลดปริมาณของแร่ที่จะนำมาใช้ให้ลดน้อยลง และจะเพิ่มอายุการใช้งานของแร่ธาตุเหล่านั้นออกไป เช่น แร่เหล็ก ถูกนำมาใช้มากที่สุดในบรรดาแร่โลหะทั้งหลาย จนทำให้ปริมาณของแร่เหล็ก ลดน้อยลง ปัจจุบันได้นำแร่ชนิดอื่นมาทดแทนแร่เหล็ก แร่ธาตุที่เข้ามาแทนที่เหล็กมากขึ้น คือ อะลูมิเนียม นำมาใช้ทำวัสดุเครื่องใช้ ภาชนะต่าง ๆ
                           5. การยืดอายุการใช้งานแร่ธาตุให้ยาวนาน จัดว่าเป็นวิธีการใช้ประโยชน์จากแร่ธาตุอย่างถนอมและประหยัดอีกวิธีหนึ่ง เช่น ปัญหาการเกิดสนิมของเหล็กกล้า เนื่องจากเหล็กเกิดปฏิกิริยาเคมีกับอากาศได้ง่ายในที่ที่มีอากาศชื้น วิธีการป้องกันเหล็กเป็นสนิมอาจทำได้โดย
                            (1) ใช้สีทาผิวฉาบไว้
                            (2) การนำแร่โลหะบางชนิดผสมลงไปกับเหล็กหลอมให้เป็นเนื้อเดียวกัน จะช่วยลดอัตราการเกิดสนิมของเหล็กได้บ้าง ที่รู้จักกันดี ได้แก่ โลหะสแตนเลส (Stainless Steel) ซึ่งเกิดจากการนำเอานิเกิล และโครเมี่ยมมาหลอมละลายปนกับเหล็ก
                            6. การตรึงราคา เป็นการอนุรักษ์แร่โดยหลักเศรษฐศาสตร์ เนื่องจากปริมาณที่มีจำกัดและความไม่สม่ำเสมอของการกระจายตัว ตลอดจนเป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วสิ้นเปลืองไป ถ้าหากมีการควบคุมการผลิตให้สมดุลกับอัตราการใช้สอย จะลดความสิ้นเปลืองในการใช้แร่ลงได้
                            7. การควบคุมราคา เป็นการกำหนดให้มีราคาเดียวคงตัว มิให้มีการขึ้น ๆ ลง ๆ ตามสภาวะของตลาด จุดประสงค์ของการควบคุมราคา คือ
                             (1) ป้องกันการขาดแคลนแร่ธาตุที่นำมาใช้
                             (2) สงวนเงินตราต่างประเทศ เอาไว้ในกรณีแร่ธาตุชนิดนั้นต้องซื้อมาจากต่างประเทศ(3) ป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบกระเทือนต่อระบบการผลิตและบริการอื่น ๆ
                            8. การสำรวจแหล่งแร่ธาตุเพิ่มเติม แหล่งแร่ได้ถูกสำรวจและทำเหมืองเพิ่มมากขึ้นจนสามารถนำมาใช้งานอย่างไม่มีจำกัด ทำให้เกิดการ วิตกกังวล ในเรื่องการขาดแคลนแร่ธาตุในหมู่ประชาชนทั่วไป การสำรวจค้นหาแหล่งแร่ที่คาดว่ายังคงหลงเหลืออยู่ภายใต้ผิวโลก ด้วยเครื่องมือทันสมัย เกิดความ สะดวกและรวดเร็ว เช่น การใช้เครื่องตรวจสอบรังสี (Geiger Counter) ในการสำรวจแร่ยูเรเนียม การใช้เครื่องแมกนีโตมิเตอร์ (Magneto meter) สำรวจเหล็ก การใช้ระบบคลื่นแผ่นดินไหวเทียมเพื่อสำรวจน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น การใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการสำรวจคาดว่าอนาคต จะได้ทรัพยากรแร่จากทะเลและมหาสมุทรมากขึ้น




  ที่มา : http://www.keereerat.ac.th/webQuest/webman/conserve.htm